วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2552

ยาเสพติด

สารเสพติด
ความหมาย
สารเสพติด หมายถึงสิ่งที่เสพเข้าไปในร่างกายแล้วทำให้ร่างกายต้องการสารนั้นในปริมาณที่เพิ่มขึ้นไม่สามารถหยุดได้ มีผลทำให้ร่างกายทรุดโทรมและสภาวะจิตใจผิดปกติ
ประเภทของสารเสพติด
ประเภทของสารเสพติดแบ่งได้ 2 ประเภท ดังนี้ 1. สิ่งเสพติดตามธรรมชาติ ส่วนใหญ่ได้มาจากพืช เช่น ฝิ่น กัญชา กระท่อม เป็นต้น2 สิ่งเสพติดสังเคราะห์ เกิดจากมนุษย์จัดทำขึ้น เช่น เฮโรอีน ยานอนหลับ ยาระงับประสาท ยาบ้า เป็นต้น
ชนิดของสิ่งเสพติดที่พบในประเทศไทย
สิ่งเสพติดที่พบในประเทศไทยแบ่งออกได้ดังนี้1. สิ่งเสพติดประเภทฝิ่นและอนุพันธ์ของฝิ่น ได้แก่ 1.1 ฝิ่น เป็นพืชล้มลุก สารเสพติดได้จากยางฝิ่นดิบ ซึ่งกรีดจากผล มีลักษณะเหนียว สีน้ำตาลไหม้ 1.2 มอร์ฟีน เป็นสารแอลคาลอยด์สกัดจากฝิ่น เป็นผลึกสีขาวนวล มีฤทธิ์รุนแรงกว่าฝิ่น 10 เท่า1.3 เฮโรอีน เป็นสารที่สังเคราะห์ได้จากมอร์ฟีน มีพิษรุนแรงกว่ามอร์ฟีน 10 เท่า 2. สิ่งเสพติดประเภทยานอนหลับและยาระงับประสาท ได้แก่2.1 เชกโคนาล เป็นแคปซูลสีแดงเรียกว่า เหล้าแห้ง2.2 อโมบาร์บิทอล เป็นยานอนหลับบรรจุในแคปซูลสีฟ้าที่เรียกว่า นกสีฟ้า2.3 เพนโทบาร์บิทอล เป็นยานอนหลับบรรจุในแคปซูลสีเหลืองที่เรียกว่า เสื้อสีเหลือง 3. สิ่งเสพติดประเภทแอมเฟตามีน เป็นยาประเภทกระตุ้นประสาท มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น ยาแก้ง่วง ยาขยัน ยาบ้า เป็นต้น ยาบ้าหรือ แอมเฟตามีนมีลักษณะเป็นผง มีผลึกสีขาว บรรจุในแคปซูลหรืออัดเม็ดอาจพบปลอมปนในยาคลอร์เฟนิรามีน พาราเซตามอล
โทษของยาเสพติด
โทษเนื่องจากการเสพสิ่งเสพติดแบ่งออกได้ดังนี้ 1. โทษต่อร่างกาย สิ่งเสพติดทำลายทั้งร่างกายและจิตใจ เช่น ทำให้สมองถูกทำลาย ความจำเสื่อม ดวงตาพร่ามั่ว น้ำหนักลด ร่างกายซูบผอม ตาแห้ง เหม่อลอย ริมฝีปากเขียวคล้ำ เครียด เป็นต้น 2. โทษต่อผู้ใกล้ชิด ทำลายความหวังของพ่อแม่และทุกคนในครอบครัว ทำให้วงศ์ตระกูลเสื่อมเสีย
3. โทษต่อสังคม เกิดปัญหาทางด้านอาชญากรรม สูญเสียแรงงาน สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการปราบปรามและการบำบัด
4. โทษต่อประเทศไทย ทำลายเศรษฐกิจของชาติ
การป้องกันสิ่งเสพติด
วิธีการป้องกันอันตรายจากสารเสพติดมีดังต่อไปนี้
1. การป้องกันตนเอง ต้องออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และพักผ่อนให้เพียงพอ เลือกคบเพื่อนที่ไม่มั่วสมสิ่งเสพติด
2. การป้องกันในครอบครัว ต้องให้ความรักความเข้าใจ และอบรมสั่งสอนให้รู้ถึงโทษของสิ่งเสพติด 3. การป้องกันในสถานศึกษา ควรให้ความรู้ซึ่งสิ่งเสพติด จัดนิทรรศการและการรณรงค์ต่อต้านสิ่งเสพติด ไปศึกษาดุงาน ณ สถานบำบัดผู้ติดยาเสพติด
สารเสพติดมีกี่ประเภท
ยาเสพติดมีมากมายหลายร้อยประเภท ซึ่งสามารถแบ่งได้ดังนี้1.แบ่งตามการออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง -ประเภทกดประสาท ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน ยากล่อมประสาท สารระเหย ยานอนหลับ -ประเภทกระตุ้นประสาท ได้แก่ แอมเฟตามีน กระท่อม โคคาอีน ยาอี เอ็คตาซี -ประเภทหลอนประสาท ได้แก่ แอลเอสดี ดีเอ็มที เห็ดขี้ควาย ยาเค -ประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน ( อาจกด กระตุ้น หรือหลอนประสาท ร่วมกัน ) ได้แก่ กัญชา
2.แบ่งตามแหล่งที่มา -จากธรรมชาติ เช่น ฝิ่น มอร์ฟีน กระท่อม กัญชา ฯลฯ - จากการสังเคราะห์ เช่น เฮโรอีน แอมเฟตามีน ยาอี เอ็คตาซี ฯลฯ3.แบ่งตามกฎหมาย - พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 เช่น แอมเฟตามีน เฮโรอีน LSD ยาอี ฯลฯ - พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตใจและประสาท พ.ศ. 2518 เช่น อีเฟดรีน - พระราชกำหนดป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ. 2533 เช่น ทินเนอร์ กาว แล็กเกอร์
ทำไมวัยรุ่นจึงชอบวุ่นยา
วัยรุ่นเรานับตั้งแต่ 12 - 20 ปี สมัยนี้วัยรุ่นอายุน้อยลง แต่ก็เป็นผู้ใหญ่ช้าลงด้วย วัยรุ่นเป็นวัยช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่ จะเป็นเด็กว่านอนสอนง่ายก็ไม่ยอม อยากเป็นตัวของตัวเอง แต่ก็ไม่รับผิดชอบอย่างผู้ใหญ่ ช่วงวัยรุ่นมีการเจริญพัฒนาการทั้งทางร่างกายและจิตใจ รูปร่างเปลี่ยนไป ฮอร์โมนเพิ่มขึ้น จิตใจก็เอาแน่เอานอนไม่ได้ ประเดี๋ยวก็ดื้อไม่ฟังใคร ประเดี๋ยวก็อ่อนไหวไม่มั่งคง วัยรุ่นจึงต้องการเพื่อนวัยเดียวกัน เชื่อเพื่อนมากกว่าพ่อแม่ ครูบาอาจารย์ ต้องการให้เพื่อนยอมรับ จึงมักทำตามอย่างกัน บวกกับขี้เบื่อชอบของแปลกใหม่ท้าทาย ไม่คิดหน้าคิดหลัง เมื่ออยู่ในกลุ่มเพื่อนไม่ดีใช้สารเสพติด ก็จะใช้ตามไปด้วย ส่วนใหญ่เริ่มจากทดลองเสพก่อนโดยประมาทว่าจะเลิกเมื่อไรก็ได้ตอนหลังเสพติด ครุ่นคิดแต่เลือกเสพยา ถอนตัวไม่ขึ้น หมดอนาคต เป็นทุกข์ทั้งตัวเองและพ่อแม่
สารเสพติดประเภทกระตุ้นประสาท
มารู้จักสารเสพติดกันเถอะ อาจแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ 1. ประเภทกระตุ้นประสาท เกิดอารมณ์เป็นสุข สนุกสนาน ขยันขันแข็ง มีเรี่ยวแรง ก้าวร้าว ดุร้าย ได้แก่ ยาบ้า , โคเคน , ใบกระท่อม , กาแฟ , บุหรี่ เป็นต้น 2. ประเภทกดประสาท กล่อมประสาทดับความทุกข์ วิตกกังวล แก้ปวด จนถึงกดการหายใจตายไปเลย ได้แก่ ฝิ่น , มอร์ฟีน , เฮโรอีน , ยากล่อมประสาท , ยานอนหลับ , เหล้า เป็นต้น 3. ประเภทหลอนประสาท การรับรู้บิดเบี้ยวไปจากความเป็นจริง ความรู้สึก หรือสัมผัสแปลกประหลาดมหัศจรรย์ ได้แก่ กัญชา , ยาอี, ยาเค, พีซีพี, แอลเอสดี, ยาดีไซเนอร์ เป็นต้น 4. ประเภทผสมทั้งกระตุ้น , กดและหลอนประสาท ได้แก่ สารระเหย เช่น กาว, ทินเนอร์, สี เป็นต้น

ประเภทกระตุ้นประสาท
ยาบ้าชื่อทั่วไป : ยาบ้าชื่ออื่น ๆ: ยาม้า ยาขยันชื่อทางวิทยาศาสตร์: (+)-2-methylamino-1-phenylpropaneสารเคมีที่ออกฤทธิ์ สารเคมีประเภทแอมเฟตามีน (Amphetamine) โดยผลการตรวจพิสูจน์ยาบ้าในประเทศไทยปัจจุบันเกือบทั้งหมดมีเมทแอมเฟตามีน ไฮโดรคลอไรด์ (Methamphetamine Hydrochloride)
ลักษณะทางกายภาพ ยาบ้า มีลักษณะเป็นยาเม็ดกลมแบนขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6-8 มิลลิเมตร ความหนาประมาณ 3 มิลลิเมตร น้ำหนักเม็ดยาประมาณ 80-100 มิลลิกรัม มีสีต่างๆกัน เช่น สีส้ม สีน้ำตาล สีม่วง สีชมพู สีเทา สีเหลือง และสีเขียว เป็นต้น มีสัญลักษณ์ที่ปรากฏบนเม็ดยา เช่น ฬ ,? , M , PG ,WY สัญลักษณ์รูปดาว , รูปพระจันทร์เสี้ยว ,99 หรืออาจเป็นลักษณะของเส้นแบ่งครึ่งเม็ด ซึ่งสัญลักษณ์เหล่านี้อาจปรากฏบนเม็ดยาด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้งสองด้าน หรืออาจเป็นเม็ดเรียบทั้งสองด้านก็ได้
ประวัติความเป็นมา ยาบ้า เป็นชื่อที่กระทรวงสาธารณสุขตั้งขึ้นแทนชื่อ ยาม้า เมื่อไม่กี่ปีมานี้เอง แต่เดิมนิยมเรียกว่า ยาม้า เพราะมาจากเครื่องหมายการค้าของบริษัทWELLCOME ซึ่งเป็นบริษัทแรกที่ส่งยาชนิดนี้มาขายในประเทศไทย ยาบ้ามีสารประกอบหลักในกลุ่ม Amphetamine เป็นยาอันตรายที่แพร่หลายทั่วไปทั้งในสหรัฐอเมริกา ยุโรป และเอเชีย เพราะผลิตง่าย และมีความต้องการของตลาด โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่น Amphetamine เป็นสารที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นมาในปี ค.ศ.1887 โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน ชื่อ เอเดเลียโน (EDELENO) ในรูปของแอมเฟตามีนซัลเฟต (Amphetamine Sulfate) ต่อมาในปี ค.ศ.1888 นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นก็สามารถสังเคราะห์อนุพันธ์ของแอมเฟตามีนได้อีกตัวหนึ่งคือ เมทแอมเฟตามีน (Methamphetamine) ซึ่งมีผลต่อระบบประสาทส่วนกลางได้รุนแรงกว่า แอมเฟตามีน และยาบ้าที่ระบาดในประเทศไทยขณะนี้ก็มีสารประกอบหลักเป็นเมทแอมเฟตามีนนี้เอง ในอดีตที่ประเทศสหรัฐอเมริกา แอมเฟตามีนถูกใช้เป็นยารักษาโรคหลายชนิด ที่นิยมแพร่หลายเป็นยาดมแก้หวัด คัดจมูก ชื่อ ยาเบนซีดริน (Benzedrine) มีไส้กระดาษชุบด้วยน้ำยา บรรจุไว้ในหลอดให้สูดดม แต่ก็มีผู้นำมาใช้ในทางที่ผิดเพื่อกระตุ้นร่างกาย และลดความอ้วน โดยนำไส้กระดาษซับมาจุ่มน้ำ เพื่อละลายตัวยาแล้วนำมาใช้กินแทน ต่อมามีการผลิตแอมเฟตามีนอยู่ในในรูปยาเม็ดใช้กันอย่างแพร่หลายจนกลายเป็นยาสามัญประจำบ้าน ไม่ต้องมีใบสั่งยาก็ซื้อหามาใช้ได้ ในขณะนั้นมีการโฆษณาสรรพคุณของ แอมเฟตามีนว่าสามารถรักษาโรคได้หลายโรค เช่น โรคจิต โรคประสาท เป็นต้นโดยไม่ได้ตระหนักถึงฤทธิ์ของยาที่ทำให้เสพติดกันมากนัก และมีประชาชนจำนวนมากที่นำมาใช้ในทางที่ผิด จนกระทั่งในปี ค.ศ.1939 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาประกาศให้ยาจำพวกแอมเฟตามีนเป็นยาควบคุม ซึ่งต้องมีใบสั่งยาจากแพทย์จึงจะซื้อได้ ทำให้การใช้ยาชนิดนี้ลดน้อยลงจากท้องตลาด และเริ่มมีการผลิตและจำหน่ายอย่างผิดกฎหมายอย่างแพร่หลาย
วิธีเสพยาบ้าทำได้หลายวิธี เช่น
รับประทาน หรือนำไปผสมลงในเครื่องดื่มครั้งละ ?, ? หรือ 1-2 เม็ด หรือบางครั้งอาจใช้วิธีฉีดเข้าเส้นแต่ไม่ค่อยได้รับความนิยม วิธีที่นิยมมากที่สุด ได้แก่ วิธีสูบ หมายถึงการใช้หลอดสูบเอาควันที่ได้จากการเผาไหม้เม็ดยาเข้าทางปาก คล้ายกับการสูบบุหรี่ ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่มีอันตรายต่อร่างกายอย่างยิ่ง เพราะตัวยาจะออกฤทธิ์ต่อร่างกายอย่างรุนแรงและรวดเร็วกว่าวิธีการเสพในรูปแบบอื่นประเภทของยา จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 1 (ชนิดร้ายแรง) ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522
แหล่งผลิต การผลิตยาบ้าอาศัยเทคโนโลยีและสารตั้งต้นที่หาง่ายกว่าเฮโรอีนมาก การผลิตแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ การผลิตหัวเชื้อยาบ้า และการผลิตประเภทอัดเม็ด โดยแหล่งผลิตใหญ่ของยาบ้าเป็นชนกลุ่มน้อยตามชายแดนไทย – พม่า ทำการผลิตแบบครบวงจรทั้งผลิตหัวเชื้อและผลิตอัดเม็ด ซึ่งสามารถผลิตได้ปีละหลายร้อยล้านเม็ด และตลาดส่วนใหญ่ของผู้ผลิต ก็คือเยาวชนของไทย ผิดกับเฮโรอีนซึ่งประเทศไทยมักจะเป็นทางผ่านเพื่อส่งต่อไปยังประเทศอื่นสำหรับการผลิตในประเทศเป็นการผลิตอัดเม็ดโดยใช้หัวเชื้อยาบ้าจากพื้นที่ชายแดนภาคเหนือเป็นหลัก โดยมีฐานการผลิตอยู่ไม่น้อยกว่า 15 จังหวัดเป็นแหล่งอัดเม็ดขนาดใหญ่ ที่สามารถอัดเม็ดยาบ้าเป็นจำนวนล้านเม็ด แต่ที่ร้ายแรงไปกว่านั้น ปัจจุบันเรายังพบหลักฐานว่ามีการอัดเม็ดในลักษณะอุตสาหกรรมครัวเรือน (Home Lab) โดยมีอุปกรณ์ตอกเม็ดขนาดเล็กซึ่งตอกเม็ดยาบ้าที่ผสมแอมเฟตามีนกับสารประกอบอื่นๆ เช่น คาเฟอีน อีฟีดีน และแป้ง เป็นต้น กระจายอยู่ทั่วประเทศ
การแพร่ระบาด สถานการณ์การแพร่ระบาดของยาบ้ามีแนวโน้มสูงขึ้น “ยาบ้า”ที่แพร่ระบาดในประเทศมีทั้งที่ลักลอบนำเข้ามาจากต่างประเทศและที่ลักลอบผลิตภายในประเทศ เนื่องจากกลุ่มผู้ผลิตเฮโรอีนหันมาผลิตยาบ้ามากขึ้น เพราะขบวนการผลิตยาบ้าทำได้ง่ายกว่า และลงทุนน้อยกว่า แต่ผลกำไรสูง และที่สำคัญตลาด”ยาบ้า” อยู่ในประเทศไทยนี่เอง เส้นทางลำเลียงจากผู้ผลิตไปสู่ผู้ค้ารายย่อย จนถึงผู้บริโภคทำได้ง่ายกว่าเฮโรอีน ยาบ้าจึงมีสภาพการแพร่ระบาดสูง พื้นที่ที่แพร่ระบาดมาก คือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ กรุงเทพมหานคร และภาคใต้ ตามลำดับ
การออกฤทธิ์ ยาบ้า เป็นยาที่ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท เมื่อเสพเข้าสู่ร่างกาย ในระยะแรกจะออกฤทธิ์ทำให้ร่างกายตื่นตัว หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง ใจสั่นประสาทตึงเครียด แต่เมื่อหมดฤทธิ์ยาจะรู้สึกอ่อนเพลียมากกว่าปกติ ประสาทล้าทำให้การตัดสินใจช้าและผิดพลาด เป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงได้ ถ้าใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานจะทำให้สมองเสื่อม เกิดอาการประสาทหลอน เห็นภาพลวงตา หวาดระแวง คลุ้มคลั่ง เสียสติ เป็นบ้า อาจทำร้ายตนเองและผู้อื่นได้ หรือในกรณีที่ได้รับยาในปริมาณมาก (Over dose) จะไปกดประสาท และระบบการหายใจทำให้หมดสติ และถึงแก่ความตายได้ผลต่อร่างกาย วัยรุ่นที่เสพยาบ้าเป็นประจำ จะมีการเปลี่ยนแปลงของสุขภาพร่างกาย โดยสังเกตจากร่างกายที่ทรุดโทรม โดยเฉพาะพวกที่ใช้ยาแล้วออกเที่ยวเตร่กลางคืนและส่วนมากพอใช้ไปสักระยะหนึ่งน้ำหนักจะลดเพราะไม่ค่อยอยากอาหาร เนื่องจากยาบ้ามีผลต่อศูนย์ควบคุมความอยากอาหารในสมองกลุ่มที่เสพยาบ้าเกินขนาด ร่างกายไม่สามารถทนต่อยาตามขนาดที่เสพได้ ผู้เสพจะมีอาการเมาเราเรียกว่า “เมายาบ้า” บางรายจะมีอาการคลุ้มคลั่งหวาดระแวง ถึงขนาดทำร้ายตนเองและผู้อื่นได้ บางรายจะมีอาการประสาทหลอน มีความรู้สึกเหมือนมีแมลงมาไต่ตามแขนขาหรือลำตัว การรับรู้ทางการมองเห็น การได้ยิน การดมกลิ่น และการสัมผัสจะเสียไปกลุ่มที่เสพยาบ้าจนติดแล้ว จะสังเกตเห็นความผิดปกติทางร่างกายและจิตใจ ร่างกายจะทรุดโทรม น้ำหนักลด มีการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ในเพศชายอวัยวะเพศไม่สามารถแข็งตัว ไม่หลั่งน้ำอสุจิ ในเพศหญิงประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ โอกาสมีลูกยาก
การบำบัด การบำบัดรักษาผู้ติดยาบ้าไม่ใช่การทำให้ร่างกายปลอดจากยาเสพติด แต่เป็นการบำบัดรักษาความผิดปกติของร่างกายจากผลของยาเสพติด คือ ความผิดปกติของระบบประสาท โดยเฉพาะสมองส่วนกลาง (Central nervous system) และสารสื่อเคมีสมอง (Neurotransmitter) สมองของผู้ติดยาเสพติดต้องการฤทธิ์ของยาเสพติดที่จะกระตุ้นให้ระบบสมองทำงานอย่างปกติ หากช่วงใดขาดยาเสพติดไปกระตุ้นก็จะเกิดอาการผิดปกติขึ้นอาการผิดปกติของร่างกายที่เห็นทันทีที่หยุดยาบ้า คือ อาการถอนพิษยา ซึ่งจะมีอาการหิวบ่อย กินจุ กระวนกระวาย อ่อนเพลียและมีความรู้สึกจิตใจหดหู่ บางรายมีอาการถึงขนาดอยากฆ่าตัวตาย ในระยะนี้ ผู้ติดยาบ้าจะอยากนอนและนอนเป็นเวลานานในช่วง 2-3 สัปดาห์แรกต่อจากอาการถอนพิษยา ผู้ติดยาบ้าจะมีอาการอยากยามาก ในช่วงนี้ผู้ติดยาเสพติดจะมีความ รู้สึกไม่เป็นสุข ไม่มีกำลังทั้งทางร่างกายและจิตใจ อยากที่จะใช้ยาเพื่อกระตุ้นร่างกายและจิตใจให้เกิดความกระชุ่มกระชวยกลับมาใหม่การบำบัดรักษายาบ้าในช่วงแรก เป็นการบำบัดรักษาเพื่อลดอาการถอนพิษยาจึงเป็นการให้ยาตามอาการ เพื่อลดความเครียด อาการซึมเศร้าหรืออาการทางจิตอื่นๆ เช่น อาการหวาดระแวง เพื่อให้ผู้ติดยาเสพติดสามารถประคับประคองตนเองผ่านช่วงนี้ไปให้ได้ หลังจากหยุดยาบ้าประมาณ 3-4 สัปดาห์ อาการถอนพิษยาและอาการอยากยาจะลดน้อยลงแม้ว่าผู้ติดยาบ้าที่ผ่านการบำบัดรักษาขั้นถอนพิษยาแล้ว จะมีสุขภาพร่างกายและจิตใจดีขึ้น ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง แต่ความผิดปกติของระบบสมอง พฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมยังไม่ได้แก้ไข จำเป็นที่จะต้องเข้าสู่ขั้นตอน ฟื้นฟูสมรรถภาพ ต่อไป เพื่อให้ผู้ติดยาบ้าหายขาดไม่หวนกลับไปใช้ยาเสพติดอีกการที่ต้องผ่านขั้นตอนฟื้นฟูสมรรถภาพเพื่อฟื้นฟูให้สมองของผู้ติดยาเสพติดกลับมาเป็นสมองของคนปกติ เนื่องจากระบบประสาทของคนติดยาต้องการเสพติดเป็นประจำ เพื่อกระตุ้นให้มีสารเคมีสมองพอเพียงที่จะทำให้เกิดความสุขไม่วิตกกังวล หากขาดการกระตุ้นจากยาเสพติด สมองของผู้ติดยาเสพติดจะมีปฏิกิริยาตรงกันข้าม คือผู้ติดยาจะหงุดหงิดไม่เป็นสุข มีความเครียด วิตกกังวลและมีความอยากที่จะกลับไปเสพ ยาเสพติดอีก ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้ระยะเวลานานพอสมควรให้ส่วนต่างของสมองได้ปรับตัวกลับเป็นปกติในช่วงที่ระบบสมองปรับตัวเป็นปกติ ผู้ติดยาเสพติดต้องไม่หวนกลับไปเสพยาเสพติดอีกนอกจากระบบสมองแล้ว พฤติกรรมและสภาพแวดล้อมของผู้ติดยาต้องได้รับการปรับเปลี่ยนให้ดีขึ้น ในกระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพมีหลายวิธีการที่จะช่วยเหลือผู้ติดยาเสพติด เช่น การเข้าค่ายฟื้นฟูฯ การให้ คำปรึกษา การทำจิตบำบัด และชุมชนบำบัด เป็นต้น เพื่อให้ผู้ติดยาเสพติดเข้าใจถึงปัญหาของตนเองที่นำไปสู่การเสพยาเสพติด ปรับสภาพครอบครัวให้สมาชิกในครอบครัวได้เข้าใจปัญหาและช่วยกันดูแลประคับประคองผู้ติด ยาเสพติด ปรับสภาพกลุ่มเพื่อนให้ห่างไกลจากเพื่อนที่จะมาชักชวนให้เสพยาเสพติด สร้างความมั่นคงทางจิตใจผ่านทางผู้เกี่ยวข้องหรือกลุ่มที่เลิกยาแล้ว ให้ผู้ติดยาเสพติดสามารถยืนหยัดแก้ไขปัญหาต่างๆ โดยไม่หวนกลับไปเสพยาอีก การบำบัดรักษายาบ้าให้หายขาด ไม่หวนกลับไปเสพใหม่ ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ จำเป็นต้องใช้ระยะเวลา และความช่วยเหลือจากผู้ที่ใกล้ชิด การบำบัดรักษาเฉพาะอาการในช่วงถอนพิษยาอย่างเดียวไม่เป็นการเพียงพอจำเป็นต้องมีกระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจ รวมทั้งปรับพฤติกรรมสภาพแวดล้อมทั้งในครอบครัวและกลุ่มเพื่อนให้ดีขึ้น จึงจะทำให้ผู้ติดยาเสพติดหลุดพ้นจากการเป็นทาสยาเสพติดได้อย่างถาวร
ยาอี
ชื่อทั่วไป : ยาอี หรือ เอ็กซ์ตาซี่ (Ecstasy)ชื่ออื่น ๆ : ยาเลิฟ (Love drug หรือ Love Pills) ยากอด (Hug Pills)ยาหัวส่าย (เมื่อเสพแล้วจะเต้นโดยโยกศีรษะตลอดเวลา)ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : -สารเคมีที่ออกฤทธิ์ 3,4-Methylenedionymethamphetamine (MDMA) หรือ 3,4-Methylenedionyamphetamine (MDA) หรือ 3,4-Methylenedionyethylamphetamine (MDE หรือ MDEA)
ลักษณะทางกายภาพ ลักษณะของยาอี มีทั้งที่เป็นแคปซูล และเป็นเม็ดยาสีต่าง ๆ แต่ที่พบในประเทศไทย ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นเม็ดกลมแบน เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.8 - 12ซ.ม. หนา 0.3 - 0.4 ซ.ม. ผิวเรียบ และปรากฏสัญลักษณ์บนเม็ดยาเป็นรูปต่าง ๆ เช่น กระต่าย, ค้างคาว, นก, ดวงอาทิตย์, P.T.ฯลฯ เสพโดยการรับประทานเป็นเม็ด จะออกฤทธิ์ภายในเวลา 45 นาที และฤทธิ์ยาจะอยู่ในร่างกายได้นานประมาณ 6 - 8 ชั่วโมง
ประวัติความเป็นมา ยาอี ยาเลิฟ เอ็กซ์ตาซี่ (Ecstasy) เป็นยาเสพติดกลุ่มเดียวกันแต่จะแตกต่างกันบ้างในด้านโครงสร้างทางเคมี มีการลักลอบนำเข้ามาในประเทศไทย โดยกลุ่มนักค้าชาวต่างประเทศ และกลุ่มคนไทยที่ไปศึกษาต่อที่ต่างประเทศ
ประเภทของยา จัดเป็นยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรงประเภท 1 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522
แหล่งผลิต -การแพร่ระบาด ยาอี ยาเลิฟ เอ็กซ์ตาซี เป็นยาที่แพร่ระบาดในกลุ่มวัยรุ่นที่ชอบเที่ยวกลางคืน มีพื้นที่การแพร่ระบาดตามเมืองใหญ่และเมืองท่องเที่ยว เมืองชายทะเลของประเทศ เช่น กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ สงขลา สุราษฎร์ธานี ชลบุรี แพร่ระบาดมากในกลุ่มเยาวชนที่มีการศึกษาสูง ฐานะค่อนข้างดี มีการแพร่ระบาดในลักษณะของการจัดปาร์ตี้จากเดิมที่มีการจัดมากในกรุงเทพมหานคร เริ่มมีการขยายการจัดปาร์ตี้เพื่อเสพยาออกไปยังต่างจังหวัดมากขึ้นการออกฤทธิ์ ออกฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทในช่วงเวลาสั้น ๆ จากนั้นจะออกฤทธิ์หลอนประสาทอย่างรุนแรง ทำให้การมองเห็นภาพและรับฟังเสียงผิดไปจากความเป็นจริง ผู้เสพจะมีความรู้สึกเคลิบเคลิ้ม ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ อันเป็นสาเหตุไปสู่พฤติกรรมมั่วเพศ ฤทธิ์ของยาในระยะสั้นทำให้หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง อาจทำให้เกิดอาการสั่น ชัก บางคนอาจมีอาการมากถึงขั้นระยะการหายใจล้มเหลว จนทำให้ตายได้ ในกรณีที่ใช้ต่อเนื่องจะเกิดอาการเสพติดและทำให้ระบบประสาทหลั่งสารซีโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งเป็นสารที่ทำให้มนุษย์มีความสุขลดน้อยลงหรือหมดไป ผู้เสพติดที่ตกอยู่ในภาวะซึมเศร้าจึงมีแนวโน้มในการฆ่าตัวตายสูงกว่าคนปกติ
ผลต่อร่างกาย การที่ยาอีทำลายประสาททำให้เซลล์สมองส่วนที่ทำหน้าที่หลั่งสารซีโรโทนิน ซึ่งเป็นสาระสำคัญในการควบคุมอารมณ์นั้นทำงานผิดปกติ กล่าวคือ เมื่อยาอีเข้าสู่สมองแล้วจะทำให้เกิดการหลั่ง "ซีโรโทนิน" ออกมามากเกินกว่าปกติส่งผลให้จิตใจสดชื่นเบิกบาน แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไป สารดังกล่าวจะลดน้อยลงทำให้เกิดอาการซึมเศร้า หดหู่อย่างมากจนอาจกลายเป็นโรคจิตประเภทซึมเศร้า (Depression) และอาจเกิดสภาพอยากฆ่าตัวตาย นอกจากนี้การที่สารซีโรโทนินลดลงยังทำให้ธรรมชาติของการหลับลดลง ทำให้นอนหลับไม่สนิท จึงเกิดอาการอ่อนเพลียขาดสมาธิในการเรียนและการทำงานยาอี ยังมีผลต่อสภาวะการตายขณะเสพ ซึ่งมักเกิดขึ้นเมื่อผู้เสพสูญเสียเหงื่อมากจากการเต้นรำ ทำให้เกิดสภาวะขาดน้ำอย่างฉับพลัน หรือกรณีที่เสพยาอีพร้อมกับดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เข้าไปมากหรือในกรณีของผู้ที่ป่วยเป็นโรคหัวใจจะทำให้เกิดอาการช็อค และเสียชีวิตได้
การบำบัด การบำบัดรักษาผู้ติดยาอี ยาเลิฟ เอ็กซ์ตาซี เป็นการบำบัดรักษาความผิดปกติของร่างกายจากผลของ ยาเสพติด คือ ความผิดปกติของระบบประสาท โดยเฉพาะสมองส่วนกลาง (Central nervous system) และสารสื่อเคมีสมอง (Neurotransmitter) สมองของผู้ติดยาเสพติดต้องการฤทธิ์ของยาเสพติดที่จะกระตุ้นให้ระบบสมองทำงานอย่างปกติ หากช่วงใดขาดยาเสพติดไปกระตุ้นก็จะเกิดอาการผิดปกติขึ้นอาการผิดปกติของร่างกายที่เห็นทันทีที่หยุดยาอี ยาเลิฟ เอ็กซ์ตาซี คือ อาการถอนพิษยา ซึ่งจะมีอาการหิวบ่อย กินจุ กระวนกระวาย อ่อนเพลียและมีความรู้สึกจิตใจหดหู่ บางรายมีอาการถึงขนาดอยากฆ่าตัวตาย ในระยะนี้ผู้ติดยาอี ยาเลิฟ เอ็กซ์ตาซีจะอยากนอนและนอนเป็นเวลานานในช่วง 2-3 สัปดาห์แรกต่อจากอาการถอนพิษยา ผู้ติดยาอี ยาเลิฟ เอ็กซ์ตาซีจะมีอาการอยากยามาก ในช่วงนี้ผู้ติดยาเสพติดจะมีความรู้สึกไม่เป็นสุข ไม่มีกำลังทั้งทางร่างกายและจิตใจ อยากที่จะใช้ยาเพื่อกระตุ้นร่างกายและจิตใจให้เกิดความกระชุ่มกระชวยกลับมาใหม่การบำบัดรักษายาอี ยาเลิฟ เอ็กซ์ตาซีในช่วงแรก เป็นการบำบัดรักษาเพื่อลดอาการถอนพิษยาจึงเป็นการให้ยาตามอาการ เพื่อลดความเครียด อาการซึมเศร้า หรืออาการทางจิตอื่นๆ เช่น อาการหวาดระแวง เพื่อให้ผู้ติดยาเสพติดสามารถประคับประคองตนเองผ่านช่วงนี้ไปให้ได้ หลังจากหยุดยาอี ยาเลิฟ เอ็กซ์ตาซีประมาณ 3-4 สัปดาห์ อาการถอนพิษยาและอาการอยากยาจะลดน้อยลงแม้ว่าผู้ติดยาอี ยาเลิฟ เอ็กซ์ตาซีที่ผ่านการบำบัดรักษาขั้นถอนพิษยาแล้ว จะมีสุขภาพร่างกายและจิตใจดีขึ้น ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง แต่ความผิดปกติของระบบสมอง พฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมยังไม่ได้แก้ไข จำเป็นที่จะต้องเข้าสู่ขั้นตอน ฟื้นฟูสมรรถภาพ ต่อไป เพื่อให้ผู้ติดยาอี ยาเลิฟ เอ็กซ์ตาซีหายขาดไม่หวนกลับไปใช้ยาเสพติดอีกการที่ต้องผ่านขั้นตอนฟื้นฟูสมรรถภาพเพื่อฟื้นฟูให้สมองของผู้ติดยาเสพติดกลับมาเป็นสมองของคนปกติ เนื่องจากระบบประสาทของคนติดยาต้องการเสพติดเป็นประจำ เพื่อกระตุ้นให้มีสารเคมีสมองพอเพียงที่จะทำให้เกิดความสุขไม่วิตกกังวล หากขาดการกระตุ้นจากยาเสพติด สมองของผู้ติดยาเสพติดจะมีปฏิกิริยาตรงกันข้าม คือผู้ติดยาจะหงุดหงิดไม่เป็นสุข มีความเครียด วิตกกังวลและมีความอยากที่จะกลับไปเสพ ยาเสพติดอีก ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้ระยะเวลานานพอสมควรให้ส่วนต่างของสมองได้ปรับตัวกลับเป็นปกติในช่วงที่ระบบสมองปรับตัวเป็นปกติ ผู้ติดยาเสพติดต้องไม่หวนกลับไปเสพยาเสพติดอีกนอกจากระบบสมองแล้ว พฤติกรรมและสภาพแวดล้อมของผู้ติดยาต้องได้รับการปรับเปลี่ยนให้ดีขึ้น ในกระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพมีหลายวิธีการที่จะช่วยเหลือผู้ติดยาเสพติด เช่น การเข้าค่ายฟื้นฟูฯ การให้ คำปรึกษา การทำจิตบำบัด และชุมชนบำบัด เป็นต้นเพื่อให้ผู้ติดยาเสพติดเข้าใจถึงปัญหาของตนเองที่นำไปสู่การเสพยาเสพติด ปรับสภาพครอบครัวให้สมาชิกในครอบครัวได้เข้าใจปัญหาและช่วยกันดูแประคับประคองผู้ติดยาเสพติดปรับสภาพกลุ่มเพื่อนให้ห่างไกลจากเพื่อนที่จะมาชักชวนให้เสพยาเสพติด สร้างความมั่นคงทางจิตใจผ่านทางผู้เกี่ยวข้องหรือกลุ่มที่เลิกยาแล้ว ให้ผู้ติดยาเสพติดสามารถยืนหยัดแก้ไขปัญหาต่างๆ โดยไม่หวนกลับไปเสพยาอีกการบำบัดรักษายาอี ยาเลิฟ เอ็กซ์ตาซีให้หายขาด ไม่หวนกลับไปเสพใหม่ ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ จำเป็นต้องใช้ระยะเวลา และความช่วยเหลือจากผู้ที่ใกล้ชิด การบำบัดรักษาเฉพาะอาการในช่วงถอนพิษยาอย่างเดียวไม่เป็นการเพียงพอจำเป็นต้องมีกระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจ รวมทั้งปรับพฤติกรรมสภาพแวดล้อมทั้งในครอบครัวและกลุ่มเพื่อนให้ดีขึ้น จึงจะทำให้ผู้ติดยาเสพติดหลุดพ้นจากการเป็นทาสยาเสพติดได้อย่างถาวร




กระท่อมชื่อทั่วไป : กระท่อม (Kratom)ชื่ออื่น ๆ : -ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : -สารเคมีที่ออกฤทธิ์ : Mitragynineลักษณะทางกายภาพ กระท่อมมีลักษณะเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางมีแก่นเป็นไม้เนื้อแข็ง ใช้ส่วนของใบเป็นสิ่งเสพติด ลักษณะใบคล้ายใบกระดังงาหรือใบฝรั่งต้นหนาทึบ ต้นกระท่อมมี 2 ชนิด คือ 1. ชนิดที่มีก้านและเส้นใบ เป็นสีแดงเรื่อๆ 2. ชนิดที่ต้นสีเขียว ใบสีเขียว ดอกกลมโตเท่าผลพุทราไทยล้อมรอบด้วยเกสรสีแดงเรื่อๆ คล้ายดอกกระถิน มีชื่อเรียกต่างๆ เช่น กระทุ่มโคก กระทุ่มพาย เป็นต้น
ประวัติความเป็นมา กระท่อมเป็นพืชเสพติดชนิดหนึ่ง ส่วนมากพบในทวีปเอเชีย โดยเฉพาะในประเทศอินเดียและในประเทศไทย กระท่อมไม่ขึ้นแพร่หลายทั่วไป จึงไม่เป็นที่รู้จักมักคุ้นกับชาวตะวันตก และอเมริกา ดังนั้น จึงไม่มีชื่อเป็นภาษาต่างประเทศ แต่เรียกชื่อทับศัพท์ตามภาษาไทยว่า Kratom
ประเภทของยา จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522
แหล่งผลิต -การแพร่ระบาด -
การออกฤทธิ์ ในใบกระท่อมมีสารไมตราจัยนินที่ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาทเช่นเดียวกับใบโคคา ทำให้ทำงานไม่รู้ จักเหน็ดเหนื่อย ทนแดดไม่รู้สึกร้อน และยังมีฤทธิ์กดศูนย์ประสาทเมื่อรับประทานจำนวนมากแบบเดียวกับการเสพฝิ่น
ผลต่อร่างกาย ทำให้ประสาทมึนชา เมื่อเสพจนติดแล้วผิวหนังจะดำเกรียมคล้ายกับถูกแดดจัดเผา แม้แต่อยู่ในร่มผิวหนังก็ดำเกรียม และอุจจาระมีสีเขียว คล้ายมูลแพะ ท้องผูกเป็นประจำต้องระบายท้องเสมอ
การบำบัด -
ยาอีของวัยรุ่นไฮโซ
ระยะที่ผ่านมามักจะปรากฏตามหน้าหนังสือพิมพ์ถึงการจับกุมดาราตามบาร์ หรือผับ ในงานปาร์ตี้ยาอีอยู่เนืองๆ ยาอีนั้นย่อมาจาก EOSTASY ซึ่งแปลว่า สนุกสนานหรรษา โดยมีชื่อทางเคมีว่า METHYLENE DIOXY MATHAMPHETAMINE (MDMA) จัดเป็นสารเสพติดประเภทหลอนประสาท (PSYEHEDELIC) โดยทำให้การรับรู้บิดเบี้ยวไปจากความเป็นจริง เช่น มีความรู้สึกว่ากุหลาบมีรสหวาน น้ำตาลมีเสียงไพเราะ เสียงเพลงมีความหนาว จิตใจวัดได้ด้วยระยะทาง และที่มีคุณสมบัติพิเศษแตกต่างจากสารเสพติดอื่นก็คือ มันทำให้ผู้เสพเกิดความรู้สึกอบอุ่นใจอย่างประหลาด ต้องการเปิดเผยความในใจ มีส่วนรับรู้ในความรู้สึก หรือผับ ในงานปาร์ตี้ยาอีอยู่เนืองๆ ยาอีนั้นย่อมาจาก EOSTASY ซึ่งแปลว่า สนุกสนานหรรษา โดยมีชื่อทางเคมีว่า METHYLENE DIOXY MATHAMPHETAMINE (MDMA) จัดเป็นสารเสพติดประเภทหลอนประสาท (PSYEHEDELIC) โดยทำให้การรับรู้บิดเบี้ยวไปจากความเป็นจริง เช่น มีความรู้สึกว่ากุหลาบมีรสหวาน น้ำตาลมีเสียงไพเราะ เสียงเพลงมีความหนาว จิตใจวัดได้ด้วยระยะทาง และที่มีคุณสมบัติพิเศษแตกต่างจากสารเสพติดอื่นก็คือ มันทำให้ผู้เสพเกิดความรู้สึกอบอุ่นใจอย่างประหลาด ต้องการเปิดเผยความในใจ มีส่วนรับรู้ในความรู้สึก หรือผับ ในงานปาร์ตี้ยาอีอยู่เนืองๆ ยาอีนั้นย่อมาจาก EOSTASY ซึ่งแปลว่า สนุกสนานหรรษา โดยมีชื่อทางเคมีว่า METHYLENE DIOXY MATHAMPHETAMINE (MDMA) จัดเป็นสารเสพติดประเภทหลอนประสาท (PSYEHEDELIC) โดยทำให้การรับรู้บิดเบี้ยวไปจากความเป็นจริง เช่น มีความรู้สึกว่ากุหลาบมีรสหวาน น้ำตาลมีเสียงไพเราะ เสียงเพลงมีความหนาว จิตใจวัดได้ด้วยระยะทาง และที่มีคุณสมบัติพิเศษแตกต่างจากสารเสพติดอื่นก็คือ มันทำให้ผู้เสพเกิดความรู้สึกอบอุ่นใจอย่างประหลาด ต้องการเปิดเผยความในใจ มีส่วนรับรู้ในความรู้สึก หรือผับ ในงานปาร์ตี้ยาอีอยู่เนืองๆ ยาอีนั้นย่อมาจาก EOSTASY ซึ่งแปลว่า สนุกสนานหรรษา โดยมีชื่อทางเคมีว่า METHYLENE DIOXY MATHAMPHETAMINE (MDMA) จัดเป็นสารเสพติดประเภทหลอนประสาท (PSYEHEDELIC) โดยทำให้การรับรู้บิดเบี้ยวไปจากความเป็นจริง เช่น มีความรู้สึกว่ากุหลาบมีรสหวาน น้ำตาลมีเสียงไพเราะ เสียงเพลงมีความหนาว จิตใจวัดได้ด้วยระยะทาง และที่มีคุณสมบัติพิเศษแตกต่างจากสารเสพติดอื่นก็คือ มันทำให้ผู้เสพเกิดความรู้สึกอบอุ่นใจอย่างประหลาด ต้องการเปิดเผยความในใจ มีส่วนรับรู้ในความรู้สึก หรือผับ ในงานปาร์ตี้ยาอีอยู่เนืองๆ ยาอีนั้นย่อมาจาก EOSTASY ซึ่งแปลว่า สนุกสนานหรรษา โดยมีชื่อทางเคมีว่า METHYLENE DIOXY MATHAMPHETAMINE (MDMA) จัดเป็นสารเสพติดประเภทหลอนประสาท (PSYEHEDELIC) โดยทำให้การรับรู้บิดเบี้ยวไปจากความเป็นจริง เช่น มีความรู้สึกว่ากุหลาบมีรสหวาน น้ำตาลมีเสียงไพเราะ เสียงเพลงมีความหนาว จิตใจวัดได้ด้วยระยะทาง และที่มีคุณสมบัติพิเศษแตกต่างจากสารเสพติดอื่นก็คือ มันทำให้ผู้เสพเกิดความรู้สึกอบอุ่นใจอย่างประหลาด ต้องการเปิดเผยความในใจ มีส่วนรับรู้ในความรู้สึกนึกคิดกับบุคคลอื่นๆ ประหนึ่งถักสายป่านโยงใยทางด้านจิตใจซึ่งกันและกัน เนื่องจากยาอีมีลักษณะที่แปลกอย่างนี้จึงทำให้วัยรุ่นนิยมจับกลุ่มกันเสพ ลึกๆ ลงไปในด้านจิตใจ นอกจากจะรวมกลุ่มกันทางกายเพื่อมั่วสุมกันเสพยาอีแล้ว ยังต้องการรวมกลุ่มทางด้านจิตใจด้วย คือ ต่างคนต่างมีความปรารถนาที่จะเข้าไปสถิตอยู่ในจิตใจของคนอื่นๆ ที่รวมกลุ่มกันนั้น ประหนึ่งว่าไม่ต้องการจะพลัดพรากจากกันไป ดังนั้น ยาอีจึงถูกอ้างว่าเป็นยาแห่งความรัก เอาใจเราไปใส่ใจเขา เอาใจเขามาใส่ใจเรา ยาอีเป็นยาเม็ดใช้กินอย่างเดียว เข้าใจว่าแพร่มาจากในคนรัฐแคลิฟอร์เนีย เมื่อหลายปีก่อน เม็ดละ 100 - 150 มิลลิกรัม ราคาเกือบพันบาท ออกฤทธิ์ใน 40 นาทีหลังเสพเริ่มแรกจะรู้สึกเบาหวิว มีความรู้สึกสดชื่น แต่มีอาการคลื่นไส้เล็กน้อย ขณะเดียวกันจะอยู่ไม่ค่อยเป็นสุข มือไม้จะเคลื่อนไหวไปมา วัยรุ่นนิยมเสพในงานปาร์ตี้แบบมาราธอนข้ามวันข้ามคืน เพราะผู้เสพจะมีความรู้สึกเหมือนพี่เหมือนน้องกัน ทุกคนในงานปาร์ตี้จะรักใคร่กลมเกลียวกัน เปิดเพลงเสียงดังแบบเร้าใจ เต้นรำขับร้องกันไปอย่างสนุกสนาน เพราะยาอีมันเข้าไปกระตุ้นกล้ามเนื้อให้ต้องเคลื่อนไหว ยักย้ายส่วนสะโพกตลอดเวลา ยาอีจะออกฤทธิ์นาน 24 ชั่วโมง หลังยาอีหมดฤทธิ์ผู้เสพจะอ่อนระโหยโรยแรง ไม่นึกอยากอาหาร บางรายมีอาการซึมเศร้า อยากฆ่าตัวตาย นอนหลับไม่สนิท ฝันร้าย ผู้ที่เสพประจำจะมีบุคลิกภาพเปลี่ยนไป ยอมคนง่าย ไม่มีความคิดสร้างสรรค์ ไม่มีอารมณ์ศิลปิน ต้องการแต่จะจับกลุ่มกันเท่านั้น แม้จะจับกลุ่มลัทธิบ้าคลั่ง อย่างไรก็ตาม ถ้าเสพจำนวนมากจะเกิดอาการประสาทหลอน หวาดระแวง เป็นโรคจิตได้ เคยมีรายงานจากต่างประเทศว่าในงานปาร์ตี้ยาอีแห่งหนึ่งที่จัดในที่ร้อนอบอ้าว ซ้ำผู้จัดงานยังขายน้ำดื่มราคาแพง วัยรุ่นไม่มีเงินซื้อก็ต้องจำยอมอดน้ำ แต่ก็ยังคึกคักเต้นรำไม่ยอมหยุด ยาอีออกฤทธิ์ทำให้เหงื่อออกมาก เนื่องจากมันเป็นตัวเร่งให้อุณหภูมิกายสูงขึ้น ร่างกายเสียน้ำและเกลือแร่มาก มีวัยรุ่นตายไป 15 คน อนึ่งในบ้านเรามีการใช้ยาเอฟีดรีน (Ephedrine) ซึ่งเป็นยาลดน้ำมูก เป็นสารเสพติดแทนยาอี เพราะราคาถูกกว่ามาก เรียกยาอีชาวนา เพื่อให้ต่างจากยาอีไฮโซ เรียกว่ามีการแบ่งชั้นวรรณะกันเลยทีเดียแต่ความจริงคุณสมบัติแตกต่างกันลิบลับ และบ่อยครั้งเป็นการหลอกลวงขายกันราคาแพงเป็นยาอีปลอม
กันไว้ดีกว่าแก้
ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลไทย หรือต่างประเทศ แม้ทุ่มงบประมาณจำนวนมหาศาลที่จะปราบปรามการผลิตขายสารเสพติดก็ไม่เป็นผล ตรงข้ามดูเหมือนกลับเพิ่มขึ้นอีก ถ้าสามารถป้องกันไม่ให้ผู้คนเสพสารเสพติด สินค้าสารเสพติดก็จะไม่มีความหาย เพราะผลิตออกมาแล้วขายไม่ได้ ไม่มีคนซื้อ ไม่มีคนเสพ การป้องกันการเสพสารเสพติดจึงเป็นหัวใจสำคัญในการแก้ปัญหา วิธีป้องกันต้องเริ่มจากผู้เป็นแม่ต้องไม่ใช้สารเสพติดระหว่างตั้งครรภ์ เพราะจะมีผลต่อทารก พ่อแม่ต้องเป็นแบบอย่างที่ดี ไม่ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ติดยาให้ลูกรู้เห็น เพราะมีผลต่อทัศนคติต่อการเสพสารเสพติดของเด็ก เมื่อเด็กโตเป็นวัยรุ่นมีภาระการเรียน การปรับตัว ต้องการการเคารพและเชื่อมั่นตนเอง พ่อแม่ต้องให้ความใกล้ชิด ให้คำแนะนำ ให้กำลังใจเขา พ่อแม่ต้องหูตาไว เพื่อนๆ ของลูกเป็นใครมาจากไหน เป็นกลุ่มเป็นแก๊ง มั่วสุมเสพยากันหรือไม่ เห็นท่าไม่ดีก็ต้องห้ามปรามไม่ให้คบค้าสมาคมด้วย พ่อแม่ต้องรู้ว่าสารเสพติดมีอยู่ย่านไหนในชุมชนใด หมั่นสอนลูกให้เข้าใจถึงพิษภัยของสารเสพติดอย่างมีเหตุผล พ่อแม่ร่วมกับครูบาอาจารย์ให้การส่งเสริมชักชวน วัยรุ่นให้รวมกลุ่มกันใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ในการเล่นกีฬา ดนตรี งานอดิเรก หรือเป็นอาสาสมัคร ขณะเดียวกันสังคมโดยเฉพาะสื่อสารมวลชน ดาราหรือนักกีฬา ที่มีชื่อเสียงก็มีส่วนสำคัญที่จะชักจูงวัยรุ่นในทางที่ถูกต้อง ป้องกันย่อมดีกว่าแก้แน่นอน
หนทางแห่งการรักษา
เมื่อการป้องกันล้มเหลว หรือละเลยการป้องกัน วัยรุ่นติดยาเสียแล้ว ก็มาถึงการรักษาซึ่งต้องใช้เวลา ความอดทน และความร่วมมือาของทั้งวัยรุ่น พ่อแม่และผู้รักษา อันดับแรกต้องจัดการกับศัตรูหมายเลขหนึ่งคือ จิตปฏิเสธ ผู้ป่วยจะปฏิเสธว่าตนเองไม่มีปัญหาอะไร จะหยุดยาเมื่อไรก็ได้ เถียงคำไม่ตกฟาก ทั้งที่มีหลักฐานบ่งชี้ว่าได้ตกเป็นทาสสารเสพติดแล้ว จำเป็นต้องชักนำหรือบางครั้งอาจต้องบังคับรักษา พ่อแม่ต้องไม่ใจอ่อนสงสารลูก บางครั้งผู้ป่วยจะทำตัวดีร่วมมือในช่วงแรก แต่ระยะหลังก็กลับไปเสพอีกได้ เพราะการรักษาในช่วงแรกเพียงแค่การ ถอนพิษยา หรือ อาการลงแดงเท่านั้น ส่วนความอยากเสพยังอยู่ในใจ จำเป็นต้องตามด้วยการฟื้นฟูร่างกายและจิตใจ รวมทั้งสิ่งแวดล้อมเป็นโครงการระยะยาว จึงจะเป็นหลักประกันได้ว่าจะไม่ไปเสพอีก
สารเสพติดและผลต่อร่างกาย
สารเสพติด หมายถึง สิ่งที่รับเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะเป็นการรับประทาน ฉีด สูบหรือดมติดต่อกันชั่วระยะหนึ่งแล้วมีผลต่อ จิตใจและร่างกายของผู้เสพดังนี้
1. มีความต้องการอย่างแรงกล้าที่จะเสพต่อไปเรื่อยๆ
2. มีความโน้มเอียงที่จะเพิ่มปริมาณของสารเสพติดให้มากขึ้น
3. เมื่อถึงเวลาต้องการเสพแล้วไม่ได้เสพ จะเกิดอาการอยากยา โดยแสดงในลักษณะต่างๆ เช่น หาว อาเจียน น้ำหูน้ำตาไหล ทุรนทุราย คลุ้มคลั่ง ขาดสติ โมโห ฉุนเฉียว เป็นต้น
4. ผู้ที่ใช้สารเสพติดเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดผลร้ายของผู้เสพทั้งร่างกายและจิตใจ


1. การสูบบุหรี่ บุหรี่มีสารเคมีหลายชนิด ซึ่งสามารถก่อให้เกิดโรคมะเร็ง และมีพิษต่อร่างกาย นอกจากนี้ยังเป็นสาเหตุของการเกิดโรคหัวใจ โรคปอดอักเสบเรื้อรัง หรือเกิดการระคายเคืองของตา จมูก และคอ แม้แต่ผู้ที่ไม่ได้สูบบุหรี่ แต่อยู่ในห้องหรือบ้านเดียวกับผู้สูบ หรือที่เรียกกันว่าผู้สูบบุหรี่มือสอง (second smoker) ก็มีโอกาสป่วยเป็นโรคต่างๆที่มีสาเหตุมาจากควันบุหรี่ดังได้กล่าวมาแล้ว
2. การดื่มสุราและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ แอลกอฮอล์ให้แคลอรีสูงต่อร่างกาย แต่ปราศจากซึ่งสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ทำให้สมองสั่งงานช้าลง รวมถึงมีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้เนื้อสมองตาย หากดื่มในปริมาณที่มาก จะทำให้เกิดโรคตับอักเสบ ตับแข็ง มะเร็งตับ รวมถึงอุบัติเหตุ และการติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์ เช่น เอดส์ หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ
ยาเสพติดประเภทผสมผสาน
ผู้เสพจะมีอาการโดยเบื้องต้นจะกระตุ้นประสาทให้ผู้เสพตื่นตัว ร่าเริง ช่างพูด หัวเราะ ตลอดเวลาต่อมาจะกดประสาททำให้รู้สึกคล้ายเมาเหล้า มีอาการง่วงนอน เซื่องซึม เมื่อเสพมากขึ้นจะหลอนประสาท อาจเห็นภาพลวงตา หูแวว หรือมีการหวาดระแวง ความคิดสับสนควบคุมตนเองไม่ได้ ผู้เสพกัญชาส่วนใหญ่มักป่วยเป็นโรคจิตในภายหลัง
โทษของสารเสพติด
โทษภัยต่อครอบครัว
• ทำลายความสุขในบ้าน ส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจของสมาชิกในครอบครัว เป็นเหตุให้เกิดปัญหาต่าง ตามมาจนอาจทวีความรุนแรงให้ครอบครัวแตกแยก
• สูญเสียรายได้ของครอบครัว เนื่องจากมีรายจ่ายเพิ่มขึ้นจากการซื้อ ยาเสพติด หรือบำบัดรักษาผู้ที่ติดยาเสพติด
• พ่อแม่ ผู้ปกครอง ขาดที่พึ่งในยามเจ็บป่วยหรือชราภาพ
• ทำลายชื่อเสียงวงศ์ตระกูล และเป็นที่รังเกียจของสังคม
• ทำให้ครอบครัวเดือดร้อน เพราะคนในครอบครัวที่มีปัญหายาเสพติด มักจะก่ออาชญากรรม โทษภัยต่อชุมชนและสังคม
• ก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรมต่าง ๆในชุมชน
• เป็นบ่อเกิดให้ชุมชนเสื่อมโทรม สังคมถูกทำลาย
• ทำลายเยาวชน อันเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาชุมชนและสังคม
• ทำให้การพัฒนาชุมชน และสังคมในด้านต่าง ๆเป็นไปอย่างเชื่องช้า
• สูญเสียรายได้ของชุมชนและสังคม
• ทรัพย์สินของคนในชุมชนและสังคมเสียหาย เนื่องจากพฤติกรรมทางจิตประสาท
• ก่อให้เกิดปัญหาอุบัติเหตุเนื่องจากฤทธิ์ของยา
• ก่อให้เกิดปัญหาโรคเอดส์
• บ่อนทำลายเศรษฐกิจ และความมั่นคงของประเทศชาติ
• รัฐบาลต้องสูญเสียกำลังเจ้าหน้าที่และค่าใช้จ่ายในการป้องกันปราบปรามและรักษาผู้ติดยาเสพติดจำนวนมาก
• สูญเสียทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพสำหรับการพัฒนาประเทศ
• เพิ่มภาระการเสียภาษีของประชาชน เพราะรัฐบาลต้องนำภาษีของประชาชนไปใช้จ่ายในการแก้ไขปัญหายาเสพติด
• การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเป็นไปอย่างเชื่องช้า
• สูญเสียแรงงานในการปฏิบัติงานทำให้ประเทศขาดรายได้
• ประเทศชาติต้องเสื่อมเสียชื่อเสียงและเกียรติภูมิ ในสายตาของชาวต่างประเทศ
• อาจทำให้เกิดข้อขัดแย้งทางการเมืองหรือความไม่สงบระหว่างประเทศ
• ผู้ที่ไม่ประสงค์ดีต่อชาติอาจใช้ยาเสพติดเป็นเครื่องมือในการบ่อนทำลายความมั่นคง
• ประเทศชาติพัฒนาไปอย่างเชื่องช้า
สารเสพติดและผลต่อร่างกาย
สารเสพติด
ความหมายของสารเสพติด
สารเสพติดหรือยาเสพติด หมายถึง ยา สารเคมี หรือวัตถุใดๆ ที่ได้จากธรรมชาติหรือสังเคราะห์ขึ้น ซึ่งเมื่อเสพหรือรับเข้าสู่ร่างกายโดยการกิน สูบ ฉีด ดม หรือวิธีอื่นติดต่อกันในช่วงระยะเวลาหนึ่ง จะมีผลต่อผู้เสพ ดังนี้
1. มีความต้องการที่จะเสพสารเสพติดนั้นต่อเนื่องกันไป และต้องหาสารเสพติดชนิดนั้นมาเสพให้ได้ ไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตาม
2. ต้องเพิ่มปริมาณของสารเสพติดที่เคยใช้ให้มากขึ้นเรื่อยๆ
3. เป็นทาสของสารเสพติดนั้นทั้งทางร่างกายและจิตใจ และถ้าหยุดเสพจะมีอาการขาดยา
4. เกิดผลเสียของผู้เสพในด้านต่างๆ เช่น การเรียน การเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว การปฏิบัติหน้าที่การงาน
ประเภทของสารเสพติด
องค์การอนามัยโลกแบ่งสารเสพติดออกเป็น 7 ประเภท ดังต่อไปนี้
1. สารกดสมอง เช่น ฝิ่น เฮโรอีน มอร์ฟีน โคเดอิน เมธาโดน เพธิดีน
2. สารหลอนประสาท เช่น แอลเอสดี (LSD) ยาอี กัญชา ยาเค พีซีพี
3. ยานอนหลับ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
3.1 บาณ์บิทูเรต เช่น เซโคนาล (เหล้าแห้ง) ฟีโนบาร์บ
3.2 เบ็นโซไดนาเซพีน เช่น แวเลี่ยม ไดอาซีแพม
3.3 อื่นๆ เช่น โบร์ไมด์ คลอรัลไฮเดรท
4. สารกระตุ้นสมอง เช่น แอมเฟตามีน โคเคน ใบกระท่อม
5. สารระเหย เช่น น้ำมันเบนซิน ทินเนอร์ แลกเกอร์ น้ำยาล้างเล็บ สีทาบ้าน กาว
6. สุรา เช่น เอทิลแอลกอฮอล์ เบียร์ ไวน์ เหล้า บรั่นดี
7. สารชนิดอื่น เช่น ยาดีไซน์เนอร์ เอฟีดรีน กาแฟ บุหรี่
ลักษณะและผลของสารเสพติดต่อการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย
สารเสพติดประเภทสารกดสมอง
1. ฝิ่น (Opium) สกัดได้จากยางของเปลือกผลฝิ่นดิบ มีลักษณะเป็นยางเหนียวสีน้ำตาลไหม้หรือดำ มีกลิ่นเฉพาะและรสขม เรียกว่า ฝิ่นดิบ
สาระสำคัญที่ทำให้ฝิ่นเป็นสารเสพติด คือ แอลคาลอยด์ (Alkaloid) และแลอคาลอยด์ประเภทที่ออกฤทธิ์ทำให้เกิดอาการมึนเมาและเป็นสารเสพติดโดยตรง
ได้แก่ มอร์ฟีน โคเดอีน เพธิดีน ฝิ่นนำเข้าสู่ร่างกายได้โดยวิธีสูบ รับประทาน และชงกับน้ำดื่ม
ผลของฝิ่นต่อการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย มีดังนี้
1) ออกฤทธิ์กดประสาท ทำให้นอนหลับสนิท เคลิบเคลิ้ม มีอาการประสาทหลอน
2) ทำให้ความสามารถในการคิดช้าลง เซื่องซึม และทำให้การทำงานของอวัยวะต่างๆ ช้าลง เช่น สมอง หัวใจ
3) ทำให้ตับเสื่อมสมรรถภาพ ปลายประสาทและกล้ามเนื้อ หัวใจอักเสบ ระบบย่อยอาหารเสื่อมสมรรถภาพ เบื่ออาหาร ท้องผูก
4) ทำให้ระดับฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง เป็นผลให้ในผู้หญิงประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ และหมดสมรรถภาพทางเพศในผู้ชาย
5) ทำให้ร่างกายทรุดโทรม เป็นเหตุให้มีโรคต่างๆ แทรกได้ง่าย เช่น วัณโรค โรคขาดสารอาหาร โรคติดเชื้อ

2. มอร์ฟีน (Morphine) สกัดจากฝิ่น มีลักษณะเป็นผงสีขาวหรือเทาเกือบขา ไม่มีกลิ่น มีรสขม มีฤทธิ์แรงกว่าฝิ่นประมาณ 8-10 เท่า
มอร์ฟีนนำเข้าสู่ร่างกายได้โดยการรับประทานหรือฉีด
ผลของมอร์ฟีนต่อการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย มีดังนี้
1) กดประสาทส่วนกลาง (สมอง ไขสันหลัง) ทำให้รู้สึกมึนชา อาการเจ็บปวดต่างๆ จะหายไป กล้ามเนื้อคลายตัว รู้สึกสบาย ในที่สุดจะง่วงและหลับไป
2) กดศูนย์การไอและกดศูนย์ควบคุมการหายใจ ทำให้ไม่ไอ หายใจช้าลง ซึ่งอาจทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิตได้
3) ทำให้เกิดอาการม่านตาหรี่ คลื่นไส้ อาเจียน กระเพาะอาหารและลำไส้ทำงานน้อยลง หูรูดต่างๆ หดตัวลง ทำให้ท้องผูก และปัสสาวะลำบาก
3. เฮโรอีน (Heroin) สังเคราะห์ได้จากมอร์ฟีน เป็นสารเสพติดที่ร้ายแรงที่สุด มีฤทธิ์มากกว่ามอร์ฟีน 5-8 เท่า
ติดง่าย แต่เลิกสูบยากกว่าฝิ่นมาก ในปัจจุบันมีเฮโรอีนที่ระบาดและจำหน่ายอยู่ 2 ชนิด คือ
1) เฮโรอีนบริสุทธิ์หรือเฮโรอีนเบอร์ 4 นิยมเรียกว่า ผงขาว มีลักษณะเป็นผงสีขาว ไม่มีกลิ่น รสขมจัด มีเนื้อเฮโรอีนสูงถึงร้อยละ 90-95
2) เฮโรอีนผสมหรือเอโรอีนเบอร์ 3 นิยมเรียกว่า แค็ป หรือ ไอระเหย มีลักษณะเป็นเกล็ด ไม่มีกลิ่น มีหลายสี เช่น ม่วง น้ำตาล ชมพูอ่อน
มีเนื้อเฮโรอีนไม่เกินร้อยละ 20 และมีสารอื่นๆ ปนอยู่ด้วย เช่น สารหนู กรดประสานทองสติ๊กนิน
เฮโรอีนนำเข้าสู่ร่างกายได้โดยการสูบ การสูดดมเข้าจมูก การฉีด ผสมอาหารหรือเครื่องดื่มรับประทาน

ผลของเฮโรอีนต่อการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย มีดังนี้
1) ทำให้ง่วง งุนงง และหลับได้สนิทมาก
2) คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ร่างกายผ่ายผอมอย่างรวดเร็ว อ่อนเพลีย ไม่กระตือรือร้น ไม่อยากทำงาน หงุดหงิด โกรธง่าย
3) อาการเจ็บปวดถูกกดไว้ ความรู้สึกสับสน ใบหน้าหมองคล้ำ
4) อายุสั้น สาเหตุการตายมักเกิดจากทีโรคแทรกหรือใช้ยาเกินขนาด




สารเสพติดประเภทสารหลอนประสาท
1. ยาอี (Ecstasy)หรือ Love Drug หรือ MDMA(Methylenedioxymethamphetamine) มีลักษณะเป็นเม็ดกลมแบนขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 6 – 8 mm
มีหลายสี เช่น สีฟ้า สีชมพู การนำเข้าสู่ร่างกายใช้วิธีรับประทานร่วมกับเครื่องดื่มต่าง ๆ
ผลของยาอีต่อการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย มีดังนี้
1) รู้สึกตัวร้อน ไข้ขึ้น กล้ามเนื้อใบหน้า แก้ม และลิ้นรู้สึกแข็งเกร็งไปหมด ขบกรามแน่น มึนงง ปวดศีรษะ
2) ทำให้สมองเสื่อมและทำลายเส้นประสาทอย่างรุนแรง โดยเฉพาะส่วนปลายประสาท สื่อนำสารเคมีที่เกี่ยวกับความทรงจำ ทำให้ความจำทั้งภาพและเสียงเสื่อมเสียไป จนจำเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ๆ ไม่ได้
3) อารมณ์ดีอยากรู้จักผู้คน ไม่ถือตัว เข้ากับผู้อื่นได้ง่าย ชอบเสียงเพลง และมีอาการซึมเศร้าเมื่อหมดฤทธิ์
2. ยาเค (Ketamine) มีลักษณะเป็นของเหลวหรือทำให้แห้งเป็นผงและเกล็ด นำเข้าสู่ร่างกายโดยวิธีฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือด สูดดม
รับประทานโดยผสมกับเครื่องดื่ม
ผลของยาเคต่อการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย มีดังนี้
1) ทำให้รู้สึกสับสน กระวนกระวาย ประสาทรับสัมผัสแปรปรวน กล้ามเนื้อทั้งลำตัว แขน ขารู้สึกแข็งทื่อ
2) มีภาพหลอนแบบคนวิกลจริต มีความรู้สึกเหมือนใกล้ตายจริง
3. แอลเอสดี หรือ LSD (Lysergic Acid Diethylamide) เป็นสารสังเคราะห์จากเชื้อรา เป็นผงสีขาว ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส ผลิตออกมาหลายรูปแบบ
เช่น เป็นเม็ด เป็นกระดาษซับ และแสตมป์ เรียก กระดาษมหัศจรรย์ กระดาษนรก กระดาษเมา แสตมป์มฤตยู และจัดเป็นสารหลอนประสาทที่มีฤทธิ์แรงที่สุด
นำเข้าสู่ร่างกายได้โดยทางปาก
ผลของแอลเอสดีต่อการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย มีดังนี้
1) ทำให้หัวใจเต้นเร็ว ความดันเลือดสูง ม่านตาขยาย มือเท้าสั่น เหงื่อออกที่ฝ่ามือฝ่าเท้า บางครั้งมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน
2) มีอารมณ์อ่อนไหวง่าย ประสาทความรู้สึกแปรปรวน ไม่สามารถควบคุมสติได้
3) ถ้าเสพจนติดยา จะกลายเป็นผู้ไร้สมรรถภาพ โรคจิตทราม และอาจฆ่าตัวตายได้

4. กัญชา (Cannabis) เป็นพืชล้มลุก ขึ้นได้ง่ายในเขตร้อน มีทั้งต้นตัวผู้และต้นตัวเมีย แต่ต้นตัวเมียจะมีฤทธิ์แรงกว่า ส่วนที่นำมาใช้
ได้แก่ ใบและยอดช่อดอกตัวเมีย โดยนำมาตากแห้ง บดให้เป็นผงหยาบๆ หรือหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ สารเสพติดที่พบในกัญชา
คือ delta - 9 - THC (Tetrahydrocannabinol) นำเข้าสู่ร่างกายได้โดยวิธีสูบและรับประทาน
ผลของกัญชาต่อการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย มีดังนี้
1) มีอาการตื่นเต้น ช่างพูด หัวเราะตลอดเวลา ส่งเสียงดัง กล้ามเนื้อแขนขาอ่อนเปลี้ยและทำงานไม่ประสานกัน
มีอาการง่วงนอนจนไม่สามารถควบคุมตัวเองได้
2) การรับรู้ต่อแสง เสียง สี เวลา และระยะทางผิดปกติ ความรู้สึกนึกคิดและการตัดสินใจเสียไป จึงมักประสบอุบัติเหตุขณะขับรถยนต์
3) ความจำเสื่อม ประสาทหลอน หวาดระแวง ความคิดสับสน จิตใจเสื่อมลง
4) มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ เช่น มะเร็งปอด ถุงลมโป่งพองและอาจมีอาการท้องเดิน อาเจียน มือสั่น เป็นตะคริว
หลอดเลือดอุดตัน หัวใจเต้นเร็ว ความรู้สึกทางเพศลดลงหรือหมดไป
สารเสพติดประเภทยานอนหลับ
บาร์บิทูเรต (Barbiturate) ที่รู้จักและใช้กันอย่างแพร่หลาย ได้แก่ ฟีโนบาร์บ และเซโคนาล หรือเรียกกันว่า เหล้าแห้ง ไก่แดง เป็ดแดง ปีศาจแดง
การนำบาทูเรตเข้าสู่ร่างกายใช้วิธีรับประทาน
ผลของบาร์บิทูเรตต่อการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย มีดังนี้
1) มีฤทธิ์กดสมอง ทำให้สมองทำงานน้อยลง แต่ถ้าใช้เกินขนาด จะทำให้ฤทธิ์กดสมองอย่างรุนแรง ทำให้สลบ หมดความรู้สึก
และจะเสียชีวิตในที่สุด เนื่องจากยาไปกดศูนย์การหายใจ ทำให้หยุดหายใจ
2) เมื่อใช้ยาเป็นเวลานาน จะมีอาการงุนงง ใจคอหงุดหงิด ความรู้สึกเลื่อนลอย ขาดความรับผิดชอบ มีความกล้าอย่างบ้าบิ่น ก้าวร้าวผู้อื่น
ชอบทะเลาะวิวาท อาจทำร้ายตัวเองได้
3) มีอาการคลุ้มคลั่งในบางครั้ง พูดไม่ชัด ลิ้นคับปาก เดินโซเซ และบางครั้งอาจทำในสิ่งที่คนปกติเขาไม่ทำกัน


สารเสพติดประเภทสารกระตุ้นสมอง
1. แอมเฟตามีน (Amphetamine) หรือยาบ้า และยังมีชื่ออื่นๆ อีก ยาม้า ยาขยัน ผลึกน้ำแข็ง (Lce) แอมเฟตามีนในปัจจุบันมีลักษณะเป็นเม็ดกลมแบน
ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 6 – 9 mm หนาประมาณ 3 mm มีหลายสี เช่น ส้ม ม่วง ชมพู น้ำตาล ขาว ซึ่งแล้วแต่ความพอใจของผู้ผลิต
วิธีการนำแอมเฟตามีนเข้าสู่ร่างกายคือรับประทาน ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ และสูดดม ส่วนผลึกน้ำแข็งเสพโดยการสูดดมเท่านั้น
ผลของแอมเฟตามีนต่อการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย มีดังนี้
1) มีฤทธิ์กระตุ้นประสาทส่วนกลางและระบบประสาทส่วนปลาย ทำให้มีอาการตื่นตัว หายง่วงนอน ความคิดอ่านและอารมณ์แจ่มใส รู้สึกสบาย
มีความกล้า พูดมาก อาการเมื่อยล้าลดลง ทำให้มีสมาธิ และมีความขยันขันแข็งในการทำงานมากขึ้น
2) ทำให้หลอดเลือดตีบเล็กลง หัวใจเต้นเร็วขึ้น ความดันเลือดสูงขึ้น มือสั่น ใจสั่น ม่านตาขยาย หลอดลมขยาย เหงื่อออก ปากแห้ง
3) เกิดอาการเบื่ออาหาร เนื่องจากยานี้ จะไปทำให้ความรู้สึกต่อกลิ่นและรสผิดไป การเผาผลาญในร่างกายสูงขึ้น ระบบย่อยอาหารทำงานน้อยลง
จึงมีคนบางกลุ่มนิยมนำมาใช้เป็นยาลดความอ้วนหรือลดน้ำหนัก
4) ถ้าใช้ยาเกินขนาด จะทำให้เวียนระ นอนไม่หลับ ตกใจง่าย ประสาทตรึงเครียด โกรธง่าย อ่อนเพลีย เป็นไข้ จิตใจสับสน หัวใจเต้นแรง
เหงื่อออกมาก คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน ปวดท้องอย่างรุนแรง มีอาการชัก หมดสติ และตาย เพราะหลอดเลือดในสมองแตกหรือหัวใจวาย
2. โคเคน (Cocaine) เป็นสารที่ได้จากพืชที่ชื่อว่า โคคา (Coca) ปลูกมากในทวีปอเมริกากลางและอเมริกาเหนือ โคเคนจะมีลักษณะเป็นผงและลักษณะแข็ง
โคเคนที่มีลักษณะแข็งจะเรียกว่า แคร็ก (Crack) โคเคนผงเข้าสู่ร่างกายโดยวิธีสูดดมหรือละลายน้ำฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ส่วนโคเคนแข็งใช้วิธีสูบแบบบุหรี่
ผลของโคเคนต่อการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย มีดังนี้
1) มีอาการตื่นเต้น ใจสั่น ตกใจ กระวนกระวาย
2) กระตุ้นประสาทอัตโนมัติ ทำให้มีความดันเลือดสูง ชีพจรเต้นเร็ว กระตุ้นหัวใจรุนแรงหลอดเลือดส่วนปลายมักตีบ
และผู้ที่ใช้วิธีสูดดมจะมีอาการโพรงจมูกอักเสบ และผนังจมูกอาจทะลุถึงกันได้ เพราะขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง
3) เมื่อเสพเป็นประจำ จำให้ร่างกายซูบผอม เพราะไม่มีความอยากรับประทานอาหาร
4) ยับยั้งการดูดกลับของสารเคมีที่เชื่อมต่อปลายประสาท ทำให้เกิดอาการเคลิบเคลิ้มและรู้สึกอยากเสพซ้ำบ่อยๆ
5) เกิดอาการทางจิตเช่นเดียวกับการเสพแอมเฟตามีน
3. กระท่อม (Kratom) เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีแก่น และเป็นไม้เนื้อแข็ง ใบมีลักษณะคล้ายใบฝรั่งหรือใบกระดังงา เส้นใบมีทั้งชนิดสีเขียวและสีแดงเรื่อๆ มีดอกทรงกลมคล้ายดอกกระถิน ขึ้นง่ายในภูมิอากาศร้อนและมีฝนตกชุกสาระสำคัญที่ทำให้กระท่อมเป็นสารเสพติด
คือ มิตราจินีน (Mitragynine) ผู้เสพส่วนใหญ่จะเป็นชาวสวน ชาวนา โดยนำใบมาเคี้ยวใบดิบๆ หรือตากใบจนแห้งและบดเป็นผงแล้วนำมาชงกับน้ำร้อนรับประทาน
ผลของกระท่อมต่อการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย มีดังนี้
1) กระตุ้นประสาทส่วนกลาง ทำให้อารมณ์แจ่มใส หายปวดเมื่อย ทำงานได้นาน ทนแดดได้ดี กลัวฝนมากที่สุด เพียงแต่เห็นฝนเค้าก็มีอาการหนาวสั่นแต่ไม่กลัวน้ำคือสามารถอาบน้ำได้ตามปกติ
2) เมื่อเสพจำนวนมากๆ จะเกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน และกระวนกระวาย
3) เมื่อเสพติดต่อกันเป็นเวลานานๆ จะทำให้ร่างกายทรุดโทรม มีอาการท้องผูก อุจจาระเป็นเม็ดสีเขียวคล้ายมูลแพะผิวหนังจะกร้านดำเกรียมมีอาการคลุ้มคลั่งเป็นโรคจิตง่าย
สารเสพติดประเภทสารระเหย
สารระเหย (Volatile Solvents) เป็นสารประกอบอินทรีย์เคมีไฮโดรคาร์บอนที่ได้จากน้ำมันปิโตรเลียมและแก็สธรรมชาติ เป็นสารที่ระเหยได้ง่ายในอุณหภูมิปกติ ใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ต่างๆ และอยู่ใยรูปของตัวทำละลาย เช่น แลกเกอร์ ทินเนอร์ น้ำยาล้างเล็บ น้ำมันก๊าด น้ำมันเบนซิน น้ำยาเคลือบเงาต่างๆ น้ำยาลบหมึก น้ำยาดับเพลิง และที่อยู่ในรูปของน้ำยาพ่นฝอย เช่น สเปรย์ฉีดผม น้ำยากำจัดกลิ่น สีพ่นต่างๆ ฯลฯ นำเข้าสู่ร่างกายโดยวิธีการสูดดม
ผลของสารระเหยต่อการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย มีดังนี้
1) กดประสาทส่วนกลาง โดยเฉพาะสมอง ในระยะแรกจะมีความรู้สึกตื่นเต้น ร่าเริง ศีรษะเบา มีความสุข หลังจากนั้นจะมีอาการเมาเหมือนเมาเหล้า พูดจาไม่ชัด ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ เพราะกล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกันและถ้ายังสูดดมต่ออีก จะทำให้มีอาการง่วงนอน ซึม และหมดสติในที่สุดบางรายอาจมีอาการชักเกิดขึ้นด้วย
2) เมื่อสูดดมอยู่เป็นประจำ จะมีอาการไอและกระแอมบ่อยๆ เนื่องจากเกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุภายในจมูกและปาก อาจเสียชีวิตได้เพราะสารนี้จะไปทำให้หัวใจเต้นเร็วผิดปกติหรือเกิดจากการขาดแก๊สออกซิเจน

สารเสพติดประเภทสุรา
สารเสพติดประเภทนี้มีสาระสำคัญ คือ เอทิลแอลกอฮอล์ (Ethyl alcohol) มีหลายชนิด เช่น สุรา เบียร์ ไวน์ บรั่นดี รัม สุราขาว ฯลฯ นำเข้าสู่ร่างกายโดยวิธีการดื่ม
ผลของสุราต่อการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย มีดังนี้
1) กดสมองตั้งแต่สมองส่วนหน้าจนถึงก้านสมอง มีผลทำให้เกิดอาการดังนี้ สงบสมอง นอนหลับ สลบ หมดสติ ตาย
2) กดสมองส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับความรู้สึกนึกคิด การตัดสินใจ การควบคุมตนเอง การยับยั้งใจ จึงแสดงอาการต่างๆ ออกมา เช่น ดุร้าย ทำลายสิ่งของ ทะเลาะวิวาท ส่งเสียงดัง พูดมาก
3) เกิดอาการตาพร่า การได้ยินผิดปกติ การรับรส กลิ่น และสัมผัสเสื่อมลง ในที่สุดก็จะทำให้หลับ
สารเสพติดประเภทสารชนิดอื่น
1. บุหรี่ ทำมาจากใบยาสูบ ในใบยาสูบมีสาระสำคัญที่เรียกว่า นิโคติน (Nicotine) เป็นแอลคาลอยด์ที่เป็นน้ำมันเหลวใส ไม่มีสี
เมื่อตั้งทิ้งไว้ในอากาศจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล และมีสีเข้มขึ้นเรื่อยๆ นำเข้าสู่ร่างกายได้โดยวิธีสูบ
ผลของบุหรี่ต่อการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย มีดังนี้
1) กระตุ้นประสาทอัตโนมัติ ทำให้ผนังหลอดเลือดหดตัว ความดันเลือดสูง
2) ถ้านิโคตินน้อยจะกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง แต่ถ้ามากจะกด ทำให้หายใจช้าลง
3) ในระยะแรกจะกระตุ้นศูนย์การหายใจ แต่ต่อมาจะกด ทำให้หายใจช้าลง หายใจไม่ออก แน่นหน้าอก
4) ทำให้เป็นโรคถุงลมโป่งพอง ผิงหนังเหี่ยวย่น
5) กระตุ้นเยื่อบุและต่อมต่างๆ ของระบบทางเดินอาหารให้ทำงานมากผิดปกติ ทำให้คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร และเป็นแผลในกระเพาะอาหาร
2. เอฟีดรีน (Ephedrine) เป็นสารที่สังเคราะห์ขึ้น นำเข้าสู่ร่างกายโดยการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ และการสูดดม
ผลของเอฟีดรีนต่อการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย มีดังนี้
1) ถ้าเสพน้อย จะมีอาการใจสั่น กระวนกระวาย ตกใจง่าย มือสั่น และปวดศีรษะ
2) ถ้าเสพมาก จะมีอาการใจสั่น กระวนกระวาย ตึงเครียด หวาดกลัว มือสั่น เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ
หายใจลำบาก และถ้าเสพสูงมาก อาจเสียชีวิต เนื่องจากหลอดเลือดตกในสมองและหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ


วิธีการป้องกันไม่ให้ตกเป็นทาสของสารเสพติด
1. การป้องกันตัวเอง ทำได้โดยไม่ทดลองเสพสารเสพติดทุกชนิด เนื่องจากติดง่าย หายยาก และไม่ใช้ยาโดยไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์
2. การป้องกันครอบครัว สมาชิกทุกคนในครอบครัวมีความรักใคร่ ความผูกพัน มีความเห็นอกเห็นใจ เอาใจใส่ซึ่งกันและกัน ยิ้มแย้มแจ่มใส ให้อภัยให้คำแนะนำและคำปรึกษาที่ดีและถูกต้อง
3. การป้องกันชุมชน ในชุมชนประกอบด้วยบุคคลที่มีอาชีพแตกต่างกัน มีสภาพแวดล้อมแตกต่างกัน ดังนั้นทุกคนที่อยู่ในชุมชน
ควรมีความรับผิดชอบต่อชุมชนที่ตนอาศัยอยู่ ช่วยกันทำหน้าที่สอดส่องดูแล และเมื่อมีสิ่งผิดปกติเกี่ยวกับสารเสพติด
เช่น มีการลักลอบซื้อขายสารเสพติด หรือมีแหล่งมั่วสุมในชุมชน ก็ควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่บ้านเมืองช่วยกันปราบปรามซึ่งจะทำให้ชุมชนไม่มีปัญหาเรื่องเสพติด และทุกคนในชุมชนจะอยู่กันอย่างมีความสุข
มาตรการในการต่อต้านและแก้ไขปัญหาสารเสพติด
1. การปราบปรามยาเสพติดและการค้ายาเสพติด
2. การป้องกันยาเสพติด
3. การบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด และฟื้นฟูสภาพจิตใจ
4. การควบคุมพืชเสพติดโดยการปลูกพืชเศรษฐกิจทดแทน 5. การร่วมมือกับต่างประเทศในการปราบปรามยาเสพติด
กฎหมายยาเสพติด..ควรรู้

ยาเสพติด หมายถึง สารหรือยาชนิดใด ๆ หรือยาที่อาจเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากธรรมชาติ หรือจากการสังเคราะห์ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกาย ไม่ว่าจะโดยการกิน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยวิธีการใด ๆ แล้วจะทำให้เกิดผลต่อร่างกายสมองและจิตใจ
กฎหมายแบ่งประเภทยาเสพติด ในทางกฎหมาย สิ่งที่ถือว่าเป็นยาเสพติดนั้นจะต้องมีกฎหมายกำหนดไว้อย่างชัดเจน หากไม่มีกฎหมายระบุไว้ สิ่งนั้นก็ไม่ใช่ยาเสพติด แม้ว่าสิ่งที่เสพนั้นจะมีฤทธิ์ที่ทำให้เกิดการเสพติดได้ก็ตาม เช่น บุหรี่ สุรา
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ได้แบ่งยาเสพติดให้โทษ (มาตรา7) ออกเป็น 5 ประเภทด้วยกัน ดังนี้
ประเภทที่ 1 ยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรง มี 38 รายการที่สำคัญ คือ เฮโรอีน แอมเฟตามีน แมทแอมเฟตามีน เอ็กซ์ตาซี และแอลเอสดี
ประเภทที่ 2 ยาเสพติดให้โทษทั่วไป มี 102 รายการที่สำคัญ คือ ใบโคคา โคคาอีน โคเดอีน ยาสกัดเข้มข้นของต้นฝิ่นแห้ง เมทาโดน มอร์ฟีน ฝิ่นยา (ฝิ่นที่ผ่านกรรมวิธีปรุงแต่งเพื่อใช้ในทางยา) ฝิ่น (ฝิ่นดิบ ฝิ่นสุก มูลฝิ่น)
ประเภทที่ 3 ยาเสพติดให้โทษที่มีลักษณะเป็นต้นตำรับยาและมียาเสพติดให้โทษประเภท 2 ผสมอยู่ คือ ยารักษาโรคที่มียาเสพติด ประเภท 2 เป็นส่วนประกอบอยู่ในสูตร เช่น ยาแก้ไอ ยาแก้ท้องเสีย
ประเภทที่ 4 สารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษประเภท 1 หรือ 2 มี 32 รายการที่สำคัญ เช่น อาเซติค แอนไฮไดรด์ , อาเซติค คลอไรด์
ประเภทที่ 5 ยาเสพติดให้โทษที่ไม่เข้าอยู่ในประเภท 1 ถึง 4 มี 4 รายการ คือ กัญชา พืชกระท่อม พืชฝิ่น ทุกส่วนของพืชกัญชา ทุกส่วนของพืชกระท่อม และพืชเห็ดขี้ควาย

ข้อหา
ยาเสพติดให้โทษประเภท1
ยาเสพติดให้โทษประเภท2
ผลิตน้ำเข้าส่งออก
-จำคุกตลอดชีวิต (ม.65ว.1)
-ถ้ากระทำเพื่อจำหน่าย ประหารชีวิต (ม.65ว.2)
-คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ 20 กรัม ขึ้นไป ถือว่ากระทำเพื่อจำหน่าย (ม.15)

-จำคุก 1-10 ปีและปรับ 10,000 บาท (ม.68)
-ถ้าเป็นมอร์ฟีน ฝิ่น หรือโคคาอีน จำคุก 20 ปี ถึงตลอดชีวิต และปรับ 200,000-500,000 บาท(ม.68)
จำหน่ายครอบครองเพื่อจำหน่าย
-คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่เกิน 100 กรัมจำคุก 5 ปี ถึงตลอดชีวิต และปรับ 50,000-500,000 บาท (ม.66ว.1)
-คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกิน 100 กรัม จำคุกตลอดชีวิต หรือประหารชีวิต (ม.66ว.2)

-จำคุก 1-10 ปี และปรับ 10,000 บาท-100,000 บาท(ม.69ว.2)
-ถ้าเป็นมอร์ฟีน ฝิ่น หรือโคคาอีน คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่เกิน 100 กรัม จำคุก 3-20 ปี และปรับ 30,000-200,000 บาท ถ้าคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกินกว่า 100 กรัม จำคุก 5 ปี ถึงตลอดชีวิต และปรับ 50,000-500,000 บาท(ม.69ว.4)

ครอบครอง
-คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่ถึง 20 กรัม จำคุก 1-10 ปี และปรับ 10,000-100,000บาท (ม.67)
-คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ 20 กรัมขึ้นไป ถือว่าครอบครองเพื่อจำหน่าย (ม.15)

-คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่เกิน 100 กรัม จำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 50,000 บาท (ม.69ว.1)
-คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ 100 กรัม ขึ้นไป ถือว่าครอบครองเพื่อจำหน่าย (ม.17)

เสพ
-จำคุก 6 เดือน ถึง 10 ปีและปรับ 5,000-100,000 บาท (ม.91)
-จำคุก 6 เดือน ถึง 10 ปีและปรับ 5,000-100,000 บาท (ม.91)
ใช้อุบายหลอกลวงขู่เข็ญ ใช้กำลัง ประทุษร้ายฯ
-จำคุก 1-10ปี และปรับ 10,000-100,000บาท (ม.93)
-กระทำโดยมีอาวุธหรือร่วมกัน 2 คนขึ้นไป จำคุก 2-15 ปี และปรับ 20,000-150,000บาท
-ถ้ากระทำต่อหญิงหรือต่อผู้ยังไม่บรรลุนิติภาวะ หรือเพื่อจูงใจให้ผู้อื่นกระทำความผิดอาญา หรือเพื่อประโยชน์ในการกระทำความผิดอาญา จำคุก 3 ปี ถึงตลอดชีวิต และปรับ 30,000-500,000บาท

-จำคุก 1-10ปี และปรับ 10,000-100,000บาท (ม.93)
-กระทำโดยมีอาวุธหรือร่วมกัน 2 คนขึ้นไป จำคุก 2-15 ปี และปรับ 20,000-150,000บาท
-ถ้ากระทำต่อหญิงหรือต่อผู้ยังไม่บรรลุนิติภาวะ หรือเพื่อจูงใจให้ผู้อื่นกระทำความผิดอาญา หรือเพื่อประโยชน์ในการกระทำความผิดอาญา จำคุก 3 ปี ถึงตลอดชีวิต และปรับ 30,000-500,000บาท
ให้ผู้อื่นเสพ
-ถ้าเป็นมอร์ฟีน หรือโคคาอีน ระวางโทษเพื่มกึ่งหนึ่ง (ม.93ว.4)
-ถ้าเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท1 ต้องระวางโทษเป็น 2 เท่า และถ้าเป็นการกระทำต่อหญิงหรือบุคคลซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องระวางโทษประหารชีวิต (ม.93ว.5)

-ถ้าเป็นมอร์ฟีน หรือโคคาอีน ระวางโทษเพื่มกึ่งหนึ่ง (ม.93ว.4)
-ถ้าเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท1 ต้องระวางโทษเป็น 2 เท่า และถ้าเป็นการกระทำต่อหญิงหรือบุคคลซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องระวางโทษประหารชีวิต (ม.93ว.5)

ยุยงส่งเสริมให้ผู้อื่นเสพ
-จำคุก 1-5 ปี และปรับ 10,000-50,000 บาท (ม.93ทวิ)

-จำคุก 1-5 ปี และปรับ 10,000-50,000 บาท (ม.93ทวิ)


ข้อหา
ยาเสพติดให้โทษประเภท3
ยาเสพติดให้โทษประเภท4
ผลิตนำเข้า
-จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 30,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ม.70)
-จำคุกตั้งแต่ 1-10ปี และปรับ10,000-100,000 บาท (ม.73)

ส่งออกจำหน่าย
-จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ม.71)
-จำคุกตั้งแต่ 1-10ปี และปรับ10,000-100,000 บาท (ม.73)

ครอบครองเพื่อจำหน่าย
-
-จำคุกตั้งแต่1-10ปี และปรับ10,000-100,000 บาท (ม.74ว.2)

ครอบครอง
-
-จำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 50,000 บาท (ม.74)
-ถ้า 10 กก.ขึ้นไป ถือว่าครอบครองเพื่อจำหน่าย (ม.26ว.2)

เสพ
-
-
ใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ ใช้กำลัง ประทุษร้ายฯ ให้ผู้อื่นเสพ

-จำคุก 1-10ปี และปรับ 10,000-100,000 บาท(ม.93)
-ถ้ากระทำโดยมีอาวุธหรือร่วมกัน 2 คนขึ้นไป จำคุก 2-15 ปี และปรับ 20,000-150,000 บาท (ม.93ว.2)
-ถ้ากระทำผิดต่อหญิงหรือต่อผู้ไม่บรรลุนิติภาวะ หรือเพื่อจูงใจให้ผู้อื่นกระทำความผิดอาญา หรือเพื่อประโยชน์ในการกระทำความผิดอาญา จำคุก 3 ปี ถึงตลอดชีวิต และปรับ 30,000-500,000 บาท (ม.93ว.3)

-จำคุก 1-10ปี และปรับ 10,000-100,000 บาท(ม.93)
-ถ้ากระทำโดยมีอาวุธหรือร่วมกัน 2 คนขึ้นไป จำคุก 2-15 ปี และปรับ 20,000-150,000 บาท (ม.93ว.2)
-ถ้ากระทำผิดต่อหญิงหรือต่อผู้ไม่บรรลุนิติภาวะ หรือเพื่อจูงใจให้ผู้อื่นกระทำความผิดอาญา หรือเพื่อประโยชน์ในการกระทำความผิดอาญา จำคุก 3 ปี ถึงตลอดชีวิต และปรับ 30,000-500,000 บาท (ม.93ว.3)

ข้อหา
ยาเสพติดให้โทษประเภท 5
ไม่รวมพืชกระท่อม
ยาเสพติดให้โทษประเภท 5
เฉพาะพืชกระท่อม
ผลิตนำเข้า ส่งออก จำหน่าย
-จำคุกตั้งแต่ 2-15 ปี และปรับ 20,000-150,000 บาท (ม.75ว.1)
-จำคุกไม่เกิน 2 ปี และปรับไม่เกิน 20,000 บาท (ม.75ว.2)

ครอบครองเพื่อจำหน่าย
-จำคุกตั้งแต่ 2-15 ปี และปรับ 20,000-150,000 บาท (ม.76ว.2)

-จำคุกไม่เกิน 2 ปี และปรับไม่เกิน 20,000 บาท (ม.76ว.4)
ครอบครอง
-จำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 50,000 บาท (ม.76 ว.1)
-ถ้า 10 กก.ขึ้นไป ถือว่าครอบครองเพื่อจำหน่าย (ม.26ว.2)

-จำคุกไม่เกิน 1 ปี และปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ม.76ว.3)
-ถ้า 10 กก.ขึ้นไป ถือว่าครอบครองเพื่อจำหน่าย (ม.26ว.2)
เสพ
-จำคุกไม่เกิน 1 ปี และปรับไม่เกิน 10,000 บาท (ม.92ว.1)

-จำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท (ม.92ว.2)
ใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ ใช้กำลัง ประทุษร้ายฯ ให้ผู้อื่นเสพ
-จำคุก 1-10 ปี และปรับ 10,000-100,000 บาท (ม.93)
-ถ้ากระทำต่อหญิงหรือต่อผู้ไม่บรรลุนิติภาวะ หรือเพื่อจูงใจให้ผู้อื่นกระทำความผิดอาญา หรือเพื่อประโยชน์ในการกระทำความผิดอาญา จำคุก 3 ปี ถึงตลอดชีวิต และปรับ 30,000-500,000 บาท

-จำคุก 1-10 ปี และปรับ 10,000-100,000 บาท (ม.93)
-ถ้ากระทำต่อหญิงหรือต่อผู้ไม่บรรลุนิติภาวะ หรือเพื่อจูงใจให้ผู้อื่นกระทำความผิดอาญา หรือเพื่อประโยชน์ในการกระทำความผิดอาญา จำคุก 3 ปี ถึงตลอดชีวิต และปรับ 30,000-500,000 บาท

ยุยงส่งเสริม ให้ผู้อื่นเสพ
-จำคุกไม่เกิน 1 ปี และปรับไม่เกิน 10,000 บาท (ม.93 ทวิ ว.2)
-จำคุกไม่เกิน 1 ปี และปรับไม่เกิน 10,000 บาท (ม.93 ทวิ ว.2)





พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิด เกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.25วัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด โดยเฉพาะการมุ่งเอาผิดต่อผู้ค้ายาเสพติด ระดับนายทุน และตัวการสำคัญที่อยู่เบื้องหลังการกระทำความผิด และริบทรัพย์สินที่ได้รับมาจากการค้ายาเสพติด เพื่อขจัดแหล่งเงินทุนในการกระทำความผิดที่เกี่ยวกับยาเสพติดทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องการกระทำความผิดที่เกี่ยวกับยาเสพติดและศาลสั่งริบ ให้ตกเป็นของ “กองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติด” เพื่อนำทรัพย์สินที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในการแก้ไขปัญหายาเสพติดต่อไป
อัตราการจ่ายเงินสินบนเงินรางวัลคดียาเสพติด
ผู้ที่แจ้งข่าวสารยาเสพติด แก่เจ้าหน้าที่จนสามารถจับกุมผู้กระทำผิด และของกลางยาเสพติดได้ ผู้แจ้งความนำจับจะได้รับเงินค่าตอบแทนการแจ้งข่าวนำจับ เรียกว่า “เงินสินบนเงินรางวัล” ซึ่งมีอัตราการจ่ายเงินตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจ่ายเงินสินบนเงินรางวัลคดียาเสพติด พ.ศ.2537 ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
1. เฮโรอีน กรัมละ 10 บาท
2. มอร์ฟีน กรัมละ 4 บาท
3. ฝิ่น ฝิ่นยา (มอร์ฟีน) กรัมละ 4 บาท
4. กัญชา กรัมละ 0.02 บาท
5. ยางกัญชา หรือกัญชาน้ำ กรัมละ 10 บาท
6. อาเซติค แอนไฮไดรด์ กรัมละ 10 บาท
7. อาเซติค คลอไรด์ กรัมละ 10 บาท
8. อีเทอร์ คลอโรฟอร์ม กรัมละ 3 บาท
9. แอมเฟตามีน หรือ เมทแอมเฟตามีน (ยาบ้า)
ชนิดผง กรัมละ 20 บาท
ชนิดเม็ด คดีไม่เกิน 10 เม็ด จ่าย 200 บาท
คดี 11-500 เม็ด จ่ายไม่เกิน 5,000 บาท
คดี 501 เม็ด จ่าย 5,000 บาท
ส่วนที่เกิน 500 เม็ด ๆละ 3 บาท
แต่รวมแล้วไม่เกิน 20,000 บาท
10. ยาเสพติดอื่น ๆ (ยกเว้นพืชกระท่อม) กรัมละ 3 บาท


โ ท ษ ข อ ง ก า ร ติ ด ย า เ ส พ ติ ด
1.โทษต่อตัวผู้เสพ
สุขภาพของผู้เสพ มักจะทรุดโทรม มีร่างกายผ่ายผอม ซูบซีด ผิวคล้ำ สมองเสื่อม ป่วยเป็นโรคระบบต่างๆ เช่นโรคทางเดินอาหาร โรคปอด โรคหัวใจ โรคตับ โรคไต และต่อมาผู้เสพจะกลาย
เป็นบุคคลไร้สมรรถภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจ บุคลิกภาพเสีย เกียจคร้าน เฉื่อยชา ไม่สนใจตนเอง ขาดความเป็นระเบียบเรียบร้อย ทำให้ไม่อาจทำงานหรือเรียนหนังสือได้ และในการเสพยาเสพติดในปัจจุบัน การใช้เข็มฉีดยาร่วมกันเป็นสาเหตุสำคัญในการนำไปสู่การติดเชื้อ เอดส์
2. ต่อครอบครัว
ทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงต่อวงศ์ตระกูล และยังไม่มีความรับผิดชอบต่อครอบครัว บางคนกลายเป็นภาระของครอบครัว ทำให้ครอบครัวแตกแยก ทะเลาะวิวาท ฯลฯ
3. โทษต่อสังคม
เป็นสาเหตุของการก่ออาชญากรรม เช่น การลักทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ฯลฯ และเป็นสาเหตุของการเสียหายแห่งชีวิตและทรัพย์สินของผู้อื่น เช่น การเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน และผู้ติดยาเสพติดยังเป็นที่รังเกียจของ สังคม หรือเข้าสังคมไม่ได้ด้วย
4. โทษต่อประเทศชาติ
ผู้ติดยาเสพติดยังเป็นผู้บ่อนทำลายเศรษฐกิจ และความมั่นคงของชาติอีกด้วย เพราะทำให้รัฐต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายในการป้องกัน ปราบปราม และบำบัดรักษา และยิ่งไปกว่านั้น คือการสูญเสียทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพ ไปอย่างสิ้นเชิง หากผู้เสพเป็นเยาวชนด้วยแล้วย่อมเป็นการสูญเสียพละกำลังที่เป็นอนาคตของชาติ นั้นก็หมายความว่า ความมั่นคงของชาติย่อมกระทบกระเทือนอย่างแน่นอน
5. โทษตามกฎหมายยาเสพติด
1. ผลิต นำเข้า จำหน่าย จำหน่าย มีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ซึ่งยาเสพติดให้โทษประเภท
2. (มอร์ฟีน, ฝิ่น, โคคาอีน,ฯ) ต้องระวางโทษจำคุก ตั้งแต่สามปี ถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สามหมื่นบาทถึงสองแสนบาท(แล้วแต่กรณี)




วิ ธี ป้ อ ง กั น ก า ร ติ ด ย า เ ส พ ติ ด
1. ไม่ใช้ยารักษาตนเองจนพร่ำเพรื่อ
2. ไม่ทดลองชิมหรือเสพ
3. ไม่เชื่อคำยุยง
4. ศึกษาให้เข้าใจและพร้อมทั้งชี้แจงผู้อื่นให้เข้าใจ และมีความรู้เรื่องยาเสพติด ในแง่มุมต่างๆ
5. ทำงาน เล่นกีฬา
6.เมื่อมีปัญหาใด ที่ไม่สามารถแก้ไขได้ควรปรึกษาผู้ใกล้ชิดที่เป็นคนดี หรือพึ่งบริการสังคมสงเคราะห์
7.ไม่รับของคนแปลกหน้า ที่หยิบยื่นให้
8. ถ้ารู้ว่าใครผลิต นำเข้า ส่งออก หรือจำหน่ายยาเสพติด ควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือเจ้าหน้าที่ ที่มีหน้าที่ในการปราบปรามยาเสพติด
แ น ว ท า ง แ ก้ ไ ข
ปัจจุบันได้มีมติที่ประชุมคณะกรรมการยา ได้กำหนดเงื่อนไขรับรองการผลิต นำเข้า ยาควบคุมพิเศษ มิให้วางขายตามร้านขายยา แต่ให้ขายได้เฉพาะ สถานพยาบาล เท่านั้น
ท้ายที่สุดนี้
ถ้าพบว่าตนเองติดยาเสพติด ควรหาทางเลิก หรือรีบเข้ารับการรักษา และถ้าพบผู้เสพติดอื่นควรช่วยเหลือให้เขาเลิก หรือให้เขาได้รับการรักษาเช่นกัน สำหรับผู้ติดยาเสพติดชนิดผิดกฎหมายทั้งหลาย หากสมัครขอเข้ารับการรักษาก่อนความผิดปรากฏต่อเจ้าหน้าที่ทางการนั้น ไม่ผิดกฎหมาย โดยทางการแพทย์ถือว่า ผู้ติดยาต่างๆ นั้นเป็นผู้ป่วย และสามารถรักษาให้หายได้
ข้อคิดสำหรับผู้กระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด
“ไม่ว่าจะได้รับทรัพย์สินเงินทองมากเท่าใดจากการผลิต การค้ายาเสพติด ไม่ว่าจะเปลี่ยนแปลงสภาพทรัพย์สิน หรือโอนไปอยุ่ในชื่อของใครก็ตาม เช่น ลูกเมีย ญาติพี่น้อง หรือคนใกล้ชิด หากไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า ทรัพย์สินเหล่านั้นได้มาอย่างบริสุทธิ์ ศาลจะสั่งริบทรัพย์สินนั้นให้ตกเป็นของ “กองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติด”ต่อไป และยังต้องทนทุกข์ทรมานอยู่ในคุกอีกด้วย “